Monthly Report
June 15, 2023
Cryptomind Monthly Outlook (June 2023)

*ข้อมูลระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2023 – 14 มิถุนายน 2023

ค่าเงินบาทมีแนวโน้มไซด์เวย์ออกข้าง โดยเข้าสู่โซนกรอบ 34.4 - 34.8 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โดย ณ ปัจจุบัน อัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 34.5 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โดยมี 3 ปัจจัยคอยจับตามองดังนี้ 


1. การเทขายหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ: จากภาพจะเห็นได้ว่าหลังจากเลือกตั้งเสร็จสิ้นไปผ่านไป 1 เดือนมีเงินไหลออกกว่า 1.7 พันล้านบาท จับตามองความกังวลที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลในประเทศ ถ้ายังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ก็จะทำให้เงินบาทหาทิศทางไม่ได้ต่อไป 2. FED อาจจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว: เนื่องจากทิศทางของดอกเบี้ยเริ่มมีความชัดเจนว่าจะมีการหยุดการขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์เริ่มผ่อนคลายลงได้เช่นกัน
3. ปัจจัยทางการเมือง: การเมืองในประเทศไทยยังคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน จับตามองประเด็นต่างๆถ้าหากมีผลกระทบต่อตลาดเช่นข่าวการคอรัปชันในบริษัทต่างๆ อาจจะส่งผลให้ Sentiment ในการลงทุนในไทยดูอ่อนลงในระยะสั้น ถึงกลาง

หลังการประชุม FOMC ในคืนวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา FED ตัดสินหยุดการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 10 เดือน แต่อย่างไรก็ตามตลาดคริปโทเคอร์เรนซีกลับรีแอคในด้านตรงข้ามเพราะว่า การหยุดขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะผ่อนคลายนนโยบายทางเศรษฐกิจ แต่กลับกลายเป็นการเบรคเพื่อพิจารณาแล้วพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อ พร้อมกับย้ำว่าการประชุมครั้งต่อไปจะเป็นการพิจารณาแบบอิงข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจแบบเดือนต่อเดือนเป็นหลัก ดังนั้นหลังจากนี้ไป เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนที่ออกมาผิดคาดจากที่ตลาดคาดการณ์ไว้มากเท่าไร ตลาดก็จะยิ่งผันผวนมากขึ้นเท่านั้น เมื่อตลาดหาความแน่นอนไม่ได้ ก็จะยิ่งส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนทำการ Risk off ในสินทรัพย์เสี่ยงนั่นเอง  

ภาพรวมตลาดคริปโทฯในช่วงเดือนที่ผ่านมายังคงมีความผันผวนสูง โดยราคาเหรียญส่วนใหญ่ปรับตัวลงอย่างมาก คาดว่าสาเหตุส่วนใหญ่มาจากข่าวที่ SEC สหรัฐฯเริ่มเข้มงวดกับธุรกิจ Exchange ในสหรัฐฯ มากขึ้น ร่วมกับการประกาศว่าเหรียญบางกลุ่มเข้าข่ายการเป็น Security ที่ได้กดดันตลาดอย่างมาก 

สำหรับ DeFi ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งภาพรวม DeFi TVL ลดลงกว่า 8% โดย BNB Chain ปรับลดลงมากที่สุดถึง 25% คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าทาง Binance กำลังมีประเด็นทางกฎหมายกับ SEC สหรัฐฯอยู่ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่เหรียญ BNB เสี่ยงจะถูก Liquidate จำนวนกว่า 203 ล้านดอลลาร์บน Venus Protocol ทำให้นักลงทุนบางส่วนอาจทำการลดความเสี่ยงและถอนเงินออกจาก BNB Ecosystem ไปก่อน 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ CEXs โดนกดดันจาก Regulator แบบนี้ เราก็ได้เห็นว่าโวลุ่มการเทรดบน DEXs เพิ่มสูงขึ้น โดยจากการรายงานของ Coingecko พบว่าในช่วงระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน โวลุ่มบน DEXs อย่าง UniSwap, PancakeSwap และ Curve เพิ่มขึ้นกว่า 444% แสดงให้เห็นว่า DeFi ยังแข็งแกร่งและไปต่อได้ 

นอกจากนี้ เราก็ยังได้เห็นการพัฒนาในวงการ DeFi อยู่ตลอด อย่างเช่น Optimism ที่เพิ่งผ่านการอัปเกรด Bedrock ที่ทำให้การใช้งานมีค่าธรรมเนียมลดลงและความเร็วเพิ่มขึ้น ส่วน DeFi Narrative อื่นๆที่เป็นกระแสอยู่คือกลุ่มอย่าง LSDfi ที่จะนำ LSD ไป Optimize ผลตอบแทนให้ อย่างเช่น Pendle finance, Lybra Finance, Equilibria เป็นต้น

ปี 2023 นี้เรียกได้ว่าเป็นปีแห่ง “การวางระเบียบกฎหมายของคริปโทเคอร์เรนซี” ก็คงจะไม่ผิดจากความเป็นจริงมากนัก เพราะหลังจากที่ Terra ล่มสลาย และ FTX ประกาศล้มละลายในปีที่ผ่านมา ผู้ควบคุมกฎหมายของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น ก.ล.ต.สหรัฐที่นำทีมโดยประธานสภา Gary Gensler, หน่วยงานกำกับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (CFTC), กรมบริการทางการเงินแห่งรัฐนิวยอร์ก  (NYDFS), อัยการสูงสุดของนิวยอร์ก (NYAG), กระทรวงยุติธรรม (DoJ) 

ได้ทำงานกันอย่างหนักในการฟ้องร้องและควบคุม Exchange ที่ให้บริการในสหรัฐมากกว่า 13 คดีนับตั้งแต่ต้นปี 2023 เช่น หน่วยงานกำกับดูแลคริปโทสหรัฐ มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่? , Kucoin ถูกฟ้องในข้อหาขาย ETH, UST, LUNA (LUNC) ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน (อีกแล้ว) ซึ่งไม่เคยมีปีไหนที่มีการเข้มงวดมากขนาดนี้

โดยคืนวันที่ 5 มิถุนายน เวลาไทย ก.ล.ต.สหรัฐยื่นฟ้อง 13 ข้อหากับ Binance และ CZ (เจ้าของ Binance) โดยกล่าวหาว่าดำเนินธุรกิจอย่างผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา เช่น ขาย BNB และ BUSD ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน, ให้บริการผลิตภัณฑ์ Simple Earn, BNB Vault, Staking นอกจากนี้ยังมีเรื่อง BAM Trading ของ Binance.US ให้บริการโดยไม่จดทะเบียน ส่วน CZ เจ้าของ Binance ก็โดนข้อหาผู้มีอำนาจควบคุมแต่ละเลยการทำหน้าที่เช่นกัน

แม้ว่าทางฝั่งของ Binance และ CZ จะออกมาปฏิเสธทุกอย่าง แต่ทางก.ล.ต.สหรัฐ ก็ยังยื่นศาลเพื่อขอคำสั่งอำยัดเงินของลูกค้าใน Binance US ชั่วคราว เหตุการณ์นี้ทำให้ราคา BNB ร่วงหนักเกือบ 10% ทันที และ BTC ร่วง 5.3% ซึ่งทำให้เกิดเหตุการณ์ “Binance US Premium” ชั่วคราวคือ BTC ใน Binance US ราคาสูงกว่าตลาดโลก 6% เนื่องจากนักลงทุนใช้ BTC โอนออกจาก Exchange เพราะโอนได้เร็วกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ ก.ล.ต.สหรัฐยังไม่หยุดเพียงแค่นั้น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมงหลังการฟ้อง Binance US ก็ได้ฟ้องร้อง Coinbase ข้อหาให้บริการเป็นนายหน้า, Exchange และ Clearing agency โดยไม่ได้ลงทะเบียนกับ ก.ล.ต.สหรัฐ และยังมีการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน พร้อมกับการให้บริการ Staking Service ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเช่นกัน

Brian Armstrong CEO ของ Coinbase ออกมาตอบโต้โดยว่า ก.ล.ต.สหรัฐได้ตรวจสอบและอนุญาตให้ Coinbase ประกอบกิจการในปี 2021 ด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นไม่ได้ที่เราจะทำผิดกฎหมายที่กล่าวอ้างมา และตลาดได้ปรับตัวขึ้นกลับมาที่เดิมหลังจากร่วงหนักในตอนที่ฟ้อง Binance US

เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้นักลงทุนเริ่มตั้งคำถามกับ ก.ล.ต.สหรัฐอีกครั้งถึงการทำงานที่ไม่มีหลักการและการให้สัมภาษณ์ของ Gary ว่า “สหรัฐไม่ต้องการคริปโทเคอร์เรนซีอีกต่อไป เพราะเรามีดอลลาร์สหรัฐ , ยูโร และเยน ที่เป็นดิจิทัลทั้งหมดแล้ว” ก็เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนจาก ก.ล.ต.สหรัฐ แบบที่ไม่เคยพูดมาก่อน

ดังนั้นการประกอบธุรกิจ Exchange ในสหรัฐหลังจากนี้คงจะมีความเข้มงวดที่สูงมาก ทางเลือกแรกแบบ Binance US ที่จะ Delist เหรียญออกจากการขายมากกว่า 100 คู่เหรียญและระงับการให้บริการ OTC ชั่วคราว โดยหวังว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ Binance US ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ตรงกันข้ามกับ Coinbase ยืนยันจะสู้คดีและไม่ Delist เหรียญใดออกหรือหยุดให้บริการ Service ใดๆก็ตาม

ทางเลือกไหนจะเป็นทางที่ถูกต้อง มีแต่เวลาและ ก.ล.ต.สหรัฐเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา มีการเปิดตัว “Polygon 2.0” ซึ่งจะเป็นเหมือน Base Layer ให้กับ Layer 2 ที่ใช้ Zero-Knowledge Proof โดยที่ทุกเชนบน Polygon 2.0 จะสามารถ Cross-chain กันได้โดย ”ไร้รอยต่อ” จนเหมือนกับว่าทุกเชนที่อยู่บนนี้นั้นเป็น “เชนเดียวกัน (Single chain)” 

การเปิดตัวครั้งนี้จะเล่าเพียง Concept เท่านั้น รายละเอียดจากทาง Polygon Labs จะทยอยประกาศใน 4 วัน ภายในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเราคาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้ ดังนี้

1) 19 มิถุนายน: Future of the Polygon PoS chain

เป็นการประกาศครั้งนี้ที่เน้นย้ำคำว่า PoS ออกมาให้ทุกคนได้เห็นน่าจะสื่อถึงการอัปเกรดส่วนนี้ โดยอาจเป็นการเสริมเรื่อง Zero-Knowledge (ZK) เข้าไปบนเชน เพราะจากแนวทางการพัฒนาที่ผ่านมา เราเห็นว่า Polygon เปิดตัว zkEVM ตัวล่าสุด และ Polygon Miden, Polygon Hermez, Polygon Nightfall, Polygon Zero ที่ล้วนแต่มีการนำ ZK ไปเสริมทั้งสิ้น จึงมีความเป็นไปได้ระดับหนึ่งว่า Polygon PoS จะเริ่มนำ ZK มาประยุกต์ใช้บ้าง

2) 26 มิถุนายน: Architecture and Stack

คาดว่าเป็นรายละเอียดหลักของ Polygon 2.0 ที่จะเปิดเผยให้เห็นในการประกาศนี้ โดย Architecture & Stack จะค่อนข้างเกี่ยวข้องกับการพัฒนา Blockchain โดยเราอาจจะได้เห็นได้ชัดมากขึ้นว่าการ “สภาพคล่องที่เชื่อมถึงกัน” และ “การขยายได้อย่างไม่จำกัด” นั้นจะออกมาในรูปลักษณะแบบไหน

3) 10 กรกฎาคม: The Utility and Evolution of the Polygon Token

เป็นการปรับ Tokenomics ของเหรียญ MATIC ซึ่งในตอนนี้ยังไม่มีสปอยหลุดมาว่าจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางไหน แต่คิดว่าจะเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อระหว่าง ZK-Layer 2 และทำให้มี Use case เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

4) 17 กรกฎาคม: The Transition to Greater Community Governance of the Protocol and Treasury

Polygon Labs ต้องการให้ Polygon มีความ Decentralization มากขึ้นในระยะยาว โดยมาจากฝั่งนักพัฒนา, Researcher, Node Operator, Validator และชุมชน Polygon & Ethereum ดังนั้นจึงมี Community Forum ให้พูดคุยกัน ซึ่งจากที่เราเข้าไปอ่าน Forum แล้วพบว่า การประกาศครั้งต่อไปน่าจะเน้น 3 เรื่องหลักด้วยกันคือ Protocol Governance, System Smart Contracts Governance และ Public Goods Funding

Polygon 2.0 ถือเป็นอีกก้าวสำคัญมากของ Polygon ที่ยังคง Keep BUIDLING แม้ว่าตลาดจะเป็นอย่างไรก็ตาม ทั้งการประกาศ Partner กับบริษัทในโลกจริงอย่าง Starbucks และอื่นๆในปีนี้ การพัฒนา zkEVM เป็นรายแรกๆและสามารถใช้งานได้จริง ในตอนนี้ Polygon 2.0 ก็ได้แสดงให้เห็นถึงการพยายามเชื่อม Ecosystem ทั้งหมดของ Polygon เข้ามาด้วยกัน เรามองว่า Move นี้ของ Polygon เป็นการตัดสินใจที่รัดกุมและคิดมาดีอย่างมาก ซึ่งรายละเอียดของจริงจะเป็นอย่างไร ให้ติดตามในทั้ง 4 วันที่ Polygon Labs ได้ประกาศ และ Cryptomind Research จะนำมาอัปเดตให้ผู้อ่านได้ทราบครับ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Polygon 2.0 ได้ที่นี่)

เมื่อคืนวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ทาง Optimism เครือข่าย Layer 2 ประเภท Optimistic Rollups ก็ได้มีการ Hard Fork หรืออัปเกรดครั้งสำคัญของเครือข่ายที่เรียกว่า “Bedrock” ซึ่งเป็นหนึ่งในการอัปเกรดที่ทีมงานและนักลงทุนต่างรอคอยมาอย่างยาวนาน หลังจากที่ Layer 2 คู่แข่งอย่าง Arbitrum ได้ผ่านการอัปเกรดที่คล้ายคลึงกับ Bedrock ไปแล้วนั่นก็คือ “Nitro” เมื่อปลายปีที่แล้ว สิ่งนี้จึงน่าจับตามองเป็นอย่างมากว่าการอัปเกรดครั้งนี้จะช่วยให้ Optimism จะสามารถดึงดูดผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้ 

จุดประสงค์หลักของการอัปเกรด Bedrock จะให้ความสำคัญกับสองเรื่องคือ 1) ลดค่าธรรมเนียมธุรกรรมลงประมาณ 40-50% และ 2) อำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับนักพัฒนาที่จะเข้ามาสร้าง Layer 2 ผ่าน OP Stack นั่นเอง 

โดยในส่วนที่พัฒนามากขึ้นเกี่ยวกับ OP Stack ได้แก่ การพัฒนา Fraud Proof ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนเป็น zk-Rollups ในอนาคต, การแยกส่วนของ Consensus Client และ Execution Client ออกจากกันเพื่อป้องกันผลกระทบต่อทั้งระบบกรณีเกิดปัญหาขึ้น รวมไปถึงการ Upgrade Key ที่จะยืดระยะเวลาอัปเกรดระบบให้นานขึ้นเพื่อป้องกันการถูกโจมตีได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้มีการคาดการณ์ถึงเรื่อง Decentralized Sequencer ที่เป็นหนึ่งใน Roadmap ของ Optimism อีกด้วย โดยภายหลังการอัปเกรด Bedrock และ EIP-4844 นั้นมีความเป็นไปได้สูงมากที่ Optimism จะเปิดให้ผู้ถือ OP สามารถนำ OP มาวางเป็น Collateral บน Sequencer เพื่อรับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมจาก Optimism ได้ รวมไปถึงเชนน้องใหม่อย่าง Base จาก Coinbase ก็มีโอกาสจะเปิด Mainnet ภายหลังการอัปเกรด Bedrock อีกด้วยเช่นกัน โดยหาก Base สามารถเปิด Mainnet ได้อย่างสมบูรณ์และสามารถดึงผู้ใช้งานจาก Coinbase ให้เข้ามาใช้งาน Base ได้เยอะเท่าไร ทาง Optimism ก็จะได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมมากขึ้นเท่านั้น สะท้อนไปที่ Valuation ของเหรียญ OP ที่ดีขึ้นอีกด้วยเช่นกัน

และในส่วนของค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ลดลง อ้างอิงจาก Dune จะเห็นได้เลยว่าการทำธุรกรรมประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็น Swap, Mint, Future, Transfer ภายหลังการอัปเกรดนั้นมีสัดส่วนที่ลดลงไปสูงถึงเฉลี่ย 40-60% เลยทีเดียว สิ่งนี้จึงอาจดึงดูดให้ผู้ใช้งานจากเชนอื่นๆนำเงินเข้ามาเล่นใน Optimism มากขึ้น และ Optimism ก็สามารถดึง Marketshare จากเชนอื่นๆได้นั่นเอง

ในวันที่ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทาง Uniswap Labs ได้ประกาศว่า Uniswap V4 จะต่อยอดจาก Uniswap V3 เดิมที่เพิ่มความยืดหยุ่นกับประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้งาน Uniswap ด้วยการนำเสนอ 2 Feature หลัก คือ ” Hook ” และ ” Singleton ” โดยทั้ง 2 ลักษณะนี้จะมีรายละเอียดดังนี้

1. Hook คือ Smart Contract รูปแบบใหม่ที่สามารถ “กำหนดให้ทำงานตามช่วงเวลาที่กำหนด” ได้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิด Function ใหม่ๆ ได้ เช่น Time-weighted average price (TWAMM) ที่ทำให้การส่งคำสั่งซื้อ-ขาย สามารถแบ่งย่อยเป็นจำนวนที่เท่ากันในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกัน Price Impact และ MEV Bot,  การปรับ Dynamic Fee ตาม Volatility หรือเงื่อนไขอื่นๆ, Onchain Limit Orders ในการตั้งราคาซื้อ-ขายที่เรากำหนดเองโดยที่ไม่ใช่การขายแบบ Martket order แบบที่ DEX ทั่วไปทำ เป็นต้น
2. Singleton เป็นการ “รวมทุก Pool ไว้ใน Smart Contract เดียว” จากปกติที่การสร้าง Pool ใน Uniswap V3 แต่ละครั้งจะเป็นเหมือนกันสร้าง Smart Contract ใหม่ขึ้นมา ซึ่งมีข้อเสียคือ ค่าแก๊ส/ค่าใช้จ่ายในการสร้างสูงมาก เพราะเป็น Smart contract ที่ละเอียด การเปลี่ยนเป็น Singleton จึงมีข้อดีคือลดค่าแก๊สเป็นหลัก

Uniswap V4 ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าทางวงการ DEX ครั้งใหญ่อีกครั้ง นอกจากจะเสริมความแข็งแกร่งของ Concentrated Liquidity ที่ทำได้ดีมากแล้วใน V3 ให้ดียิ่งขึ้น ยังมีการพัฒนา Hook และ Singleton ที่ช่วยลดค่าแก๊สและประสบการณ์ใช้งานให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

เรามองว่าหลังจากนี้ DEX จะเริ่มมี Function ที่ดีเทียบเท่ากับ CEX มากขึ้นเรื่อยๆทั้งสภาพคล่องและการใช้งานที่สะดวก โดยในช่วงที่เขียนนั้นกำลังเป็นช่วงที่ ก.ล.ต.สหรัฐกำลังเนินหน้าฟ้องร้อง Binance US และ Coinbase ในเรื่องการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน (Unregistered Security) ก็ได้ทำให้ Volume ของ DEX เพิ่มขึ้น 444% ทันที

หลังจากนี้ DEX จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในการเป็น “ทางออก” ให้กับนักลงทุนที่ไม่เชื่อมั่นในตัวกลาง หรือคนที่ต้องการมีอิสรภาพในการใช้งานของตัวเองโดยที่ไม่ต้องรายงานทุกธุรกรรมกับรัฐบาลที่พยายามเริ่มต้นทดลอง Retail CBDC ในวงจำกัด

Uniswap V4 จะยังคงเป็น DEX อันดับต้นๆที่เริ่มนักลงทุนคิดถึงต่อไปได้หรือไม่ ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 5.11% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลตฟอร์มต่างๆในช่วงนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 5.51% ซึ่งสำหรับการฟาร์ม Stablecoin สามารถเลือกฝากกับแพลทฟอร์มที่มีความปลอดภัยสูงและเปิดมานาน เช่น Curve, UniSwap, PancakeSwap, Aave, Compound, Traderjoe หรือจะเลือกฝากบนแพลทฟอร์มที่ใหม่กว่าและผลตอบแทนสูงกว่าอย่างเช่น Velodrome ก็ได้เช่นกัน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างพันธบัตรเทียบกับการฟาร์ม Stablecoin ต่างกันอยู่ที่ประมาณ 1.07 เท่า ซึ่งผลตอบแทนจากการฟาร์ม Stablecoin เฉลี่ยแล้วถือว่าสูงกว่า Short-term Treasury Bills เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ลดลงจากเดือนก่อนๆพอสมควร เป็นเพราะว่าสภาวะตลาดคริปโทฯและ DeFi ลดความร้อนแรงลงจากการถูกกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่นิ่งและแรงกดดันจาก SEC สหรัฐฯ ทำให้ธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนและราคาเหรียญที่แจกเป็น Incentive ลดลง

สภาวะตลาด NFT ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าปริมาณซื้อขาย NFT บน Ethereum Blockchain มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ซึ่งนำมาด้วยคอลเลคชั่น Bored Ape Yacht Club และ Mutant Ape Yacht Club ที่มีประมาณการซื้อขายกว่า 90,000 ETH และ 52,000 ETH ตามลำดับ แต่ถึงจะมีประมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจาก 30 วันย้อนหลัง สภาวะตลาด NFT ก็ยังอยู่ในช่วงเงียบเหงาพอสมควรจากการที่ไม่ค่อยมีโปรเจกต์หน้าตาใหม่ๆ หรือมี Innovation ใหม่ๆในวงการ NFT

เพราะฉะนั้นการลงทุน NFT ในช่วงนี้จึงควรพิจารณา NFT คอลเลคชั่นที่สามารถยืนราคาได้ในสภาวะตลาดผันผวนอย่าง Azuki และ The Captainz ที่สามารถยืนราคาได้อย่างน่าทึ่ง

เมื่อวันที่ 8 เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาทาง Louis Vuitton ได้เปิดตัว NFT ใหม่ที่มีราคาถึง 39,000 ปอนด์ หรือประมาณ 1.4 ล้านบาท ที่มีชื่อว่า Treasure Trunks ซึ่งถือว่าเป็นการขาย NFT มือแรกที่ราคาค่อนข้างสูง แต่สิ่งที่ทำให้ NFT คอลเลคชั่นนี้ราคาสูงอาจจะเป็นเพราะว่า NFT นี้มีจุดเด่นคือการเป็น Soulbound NFT ซึ่งหมายความว่า NFT นี้จะไม่สามารถถูกเปลี่ยนมือได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นคงจะไม่ได้เห็นการเก็งกำไรเกิดขึ้นใน NFT ตัวนี้ได้ เว้นแต่ว่าผู้ขายจะยอมขายทั้ง Wallet พร้อม Seed Phrase แต่ก็ถือว่าเป็นการซื้อขายที่เสี่ยง

อย่างไรก็ตาม Utility ของ Treasure Trunks นั้นยังไม่ถูกเปิดเผยออกมา แต่ที่พอทราบก็คือจะเป็นสิทธิประโยชน์ต่างๆทั้งฝั่ง Physical และ Digital โดยในอนาคตจะมีการเปิดขายกุญแจสำหรับผู้ที่ถือ NFT นี้และใช้กุญแจในการใช้ Utility ต่างๆที่ Louis Vuitton มอบให้จาก NFT ตัวนี้

โดย NFT จะเปิดให้ซื้อสำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในวันที่ 16 มิถุนายนที่จะถึงนี้ และจะสามารถเริ่มใช้ Utility ผ่านกุญแจในเดือนหน้า

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2023 ในที่สุดทาง Enjin ก็ได้เปิดตัว Enjin Blockchain ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่เน้นไปที่เรื่อง NFT โดยเฉพาะ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้ Developer สามารถพัฒนาเกมหรือ Metaverse บน Enjin ได้ง่ายขึ้นและทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น

Enjin Blockchain ถูกสร้างขึ้นโดย Substrate Framework ที่โครงสร้างของบล็อกเชนสามารถเชื่อมต่อกับ Polkadot Blockchain ได้อย่างรวดเร็ว และใช้ระบบ Proof of Stake ที่ปกป้องระบบด้วย Enjin Coin (ENJ) นอกจากนี้ Enjin ยังมีแผนที่จะพัฒนา Enjin Matrixchain ที่เปรียบเสมือน Layer 2 ของ Enjin Blockchain ที่ก็จะถูก Secure ด้วย ENJ Coin (ENJ) เช่นเดียวกัน

ซึ่งหากเป็นในลักษณะนี้จะทำให้ ENJ มี Utility ที่มากขึ้นเพราะก่อนหน้านี้ ENJ เป็นเพียงโทเคนที่อยู่บน Ethereum เท่านั้น โดย ENJ จะสามารถ Migrate จาก Ethereum มาได้แบบ 1:1 ซึ่งรายละเอียดกำลังจะออกมาในเร็วๆนี้

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้ Enjin Blockchain น่าสนใจและน่าติดตามดูก็คือการที่มีฟังก์ชัน Fuel Tanks ที่ทำให้ Developer สามารถ Subsidize ค่า Gas ให้กับผู้ใช้งานได้ง่ายๆ ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลเรื่องค่า Gas และการทำ Discrete Account ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถ Interact กับโปรเจกต์ในแง่มุมต่างๆ ผ่าน Blockchain ได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลด Wallet Software

.

คำเตือนความเสี่ยง : คริปโทเคอร์เรนซี่มีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

ดาวน์โหลด
DOWNLOAD FOR FREE!
Kuljira Ittiamornkul|Apinat|Siwakorn Samutthong|Parit Boonluean|theerahpong|Principe|Kantapong Wongwaen

บทความที่เกี่ยวข้อง

Monthly Report
Cryptomind Monthly Outlook (June 2024)
Apinat|Watcharawich|Kuljira Ittiamornkul|Kasidit Muankhoksoong|Principe
June 18, 2024
Monthly Report
Technical Analysis $ONDO, $RNDR โดย Cryptomind Advisory (18 Mar 24)
Pongporn Wintakorn
March 18, 2024
Monthly Report
Technical Analysis $PENDLE, $BNB โดย Cryptomind Advisory (22 Apr 24)
Pongporn Wintakorn
April 22, 2024