Cryptomind

Web 3.0 Dictionary

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Liquidity

Liquidity (สภาพคล่อง) ความสามารถในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ทำให้ราคาผันผวนมาก สินทรัพย์ที่มี “Liquidity สูง” คือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดหรือแลกเปลี่ยนได้ง่าย เช่น Bitcoin ในตลาดใหญ่ ๆ

Source:
Liquidity
Liquidity (สภาพคล่อง) ความสามารถในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ได้อย่างรวดเร็ว
Wallet (Crypto)

Wallet (วอลเล็ต)

กระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใช้เก็บ จัดการ และทำธุรกรรมกับสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Bitcoin หรือ Ethereum โดยมีทั้งแบบ Custodial (มีคนกลางดูแล) และ Non-custodial (ผู้ใช้ถือคีย์เอง) เพื่อความปลอดภัยและการควบคุมสินทรัพย์ของตนเอง

Source:
Wallet (Crypto)
Wallet (วอลเล็ต)กระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใช้เก็บ จัดการ และทำธุรกรรมกับสินทรัพย์ดิจิทัล
zxx

ter

Source:
zxx
Smart Contract

ให้ลองจินตนาการถึงตู้กดน้ำอัตโนมัติที่เมื่อเราใส่เงินตามที่เครื่องกำหนดแล้วกดเครื่องดื่มที่เราต้องการ เครื่องก็จะปล่อยเครื่องดื่มที่เราต้องการออกมา นั่นคือตัวอย่างที่ดีของ Smart Contract แต่จุดแตกต่างสำคัญอยู่ที่ Smart Contract นั้นจะทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชน

Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะนั้นเป็นระบบ software ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำสัญญาหรือข้อตกลงอะไรบางอย่างโดยอัตโนมัติบนระบบบล็อกเชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกโค้ดอยู่ในรูปแบบ “If then” กล่าวคือเมื่อมีเงื่อนไขบางอย่างถูกบรรลุ ระบบ smart contract ก็จะ Take action ตามที่ได้ถูกกำหนดไว้ก่อนแล้วนั่นเอง

ด้วยประโยชน์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ทั้งความโปร่งใสตรวจสอบได้ (Transparency) และมีความปลอดภัย (Security) ทำให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถออกแบบระบบการแลกเปลี่ยนหรือสัญญาต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการช่วยตรวจสอบและยืนยันให้เรา เช่น มี Smart Contract เขียนไว้ว่านาย B จะขายของ 1 ชิ้นที่ราคา 10 บาท เมื่อนาย A ใส่เงินเข้าไป 10 บาทแล้วก็จะส่งเงิน 10 บาทให้นาย B และส่งของ 1 ชิ้นให้นาย A โดยกระบวนการทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นโดยอัตโนมัตินั่นเอง

นอกจากการใช้งานในด้านธุรกรรมทางการเงินแล้ว smart contract นั้นยังมีความสามารถในการใช้งานในด้านอื่น อาทิ

  • Decentralized Application (DApps) = Smart contract นั้นเรียกได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของ DApps ส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ ทั้งในส่วนของ platform Decentralized Finance (DeFi) ในตัวระบบการกู้ยืมเงินและการซื้อขายเหรียญคริปโต รวมถึง platform ที่เกี่ยวกับเกมและงานศิลปะที่มีการใช้งาน Non-Fungible Token (NFTs) ซึ่งก็มีการปรับใช้ smart contract ในการแลกเปลี่ยนของสินค้าและไอเทมเหล่านั้น
  • Supply Chain Management = Smart contract นั้นสามารถใช้ติดตามการเคลื่อนที่ของสินค้าใน supply chain ได้โดยมีความโปร่งใส การติดตามได้ง่าย และลดการทุจริตในการทำงาน ทั้งยังทำให้ระบบการจัดการเป็นอัตโนมัติ เช่น การชำระเงินและการจัดการออเดอร์

Smart contract นั้นมีประโยชน์หลากหลายแต่ก็ยังมีข้อเสียเช่นกัน อาทิ

  • Immutability = หลังจากที่ smart contract ถูก deploy บน blockchain แล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้ (Immutable) ซึ่งบางคนก็จะมองว่าเป็นข้อดี แต่ในกรณีที่ในโค้ดมีบัคหรือปัญหา error ต่างๆก็จะทำให้ไม่สามารถ update หรือแก้ไขได้เช่นกัน
  • Smart Contract Risk= เนื่องจาก smart contract เขียนโดยใช้โค้ด จึงแน่นอนว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องความผิดพลาดของโค้ดหรืออาจมีบัคต่างๆ เกิดขึ้นได้
  • Oracle = เนื่องจากบางครั้งจำเป็นต้องมีการดึงข้อมูลจากแหล่งภายนอกเรียกว่า Oracle โดยทั่วไปแล้ว smart contract นั้นไม่สามารถแก้ไขได้และมีความปลอดภัยแต่สำหรับตัว oracle นั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮ็กได้
Source:
Smart Contract
ให้ลองจินตนาการถึงตู้กดน้ำอัตโนมัติที่เมื่อเราใส่เงินตามที่เครื่องกำหนดแล้วกดเครื่องดื่มที่เราต้องการ เครื่องก็จะปล่อยเครื่องดื่มที่เราต้องการออกมา นั่นคือตัวอย่างที่ดีของ Smart Contract แต่จุดแตกต่างสำคัญอยู่ที่ Smart Contract นั้นจะทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชน Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะนั้นเป็นระบบ software ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำสัญญาหรือข้อตกลงอะไรบางอย่างโดยอัตโนมัติบนระบบบล็อกเชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกโค้ดอยู่ในรูปแบบ “If then” กล่าวคือเมื่อมีเงื่อนไขบางอย่างถูกบรรลุ ระบบ...
Block Confirmation

หากเราต้องการโอนเงินไปให้เพื่อน โดยใช้ Bitcoin (BTC) หลายๆ คนคงเคยได้ยินว่าต้องรอยืนยัน 3 Block เพื่อยืนยันว่าโอนเงินสำเร็จ และการโอนเงินเข้า Centralize Exchange ต้องรอยืนยันมากถึง 6 Block ซึ่งบางครั้งใช้เวลาหลายชั่วโมง แล้วทำไมเราต้องรอนานขนาดนั้นด้วยล่ะ?

ขอบคุณภาพจาก Binance

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เราย้อนไปการทำงานของบล็อกเชนคร่าวๆ ก่อน

  • หลังจากที่เราโอนเงินให้กัน จะเกิดกลุ่มข้อมูลที่ยังไม่ได้ตรวจสอบขึ้นมา
  • ข้อมูลที่ยังไม่ได้ตรวจสอบถูกดึงไปยืนยันด้วย Validator Node
  • ยืนยันเสร็จก็ไปบันทึกลงเป็น Block

ลองมองภาพที่มันใหญ่ขึ้น ธุรกรรมที่เราทำกันทั่วโลกต่อวินาที มันมีเยอะมากๆ เลยนะ มันเป็นไปได้ว่าจะเกิดธุรกรรมในช่วงเวลาเดียวกันจากที่ไหนสักที่ในโลก แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นล่ะ ? 

เช่น มีธุรกรรมเกิดขึ้นในฝั่งไทย (ทางขวา) และในฝั่งเอมริกา (ทางซ้าย) พร้อมกัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

  • Validator Node ทั้งสองฝั่งเอาธุรกรรมใกล้ตัวเองที่ยังไม่ได้ยืนยันมายืนยัน แล้วสร้างเป็น Block ที่ 101
    • 101 ไทย VS 101 อเมริกา
  • เมื่อ Validator Node ยืนยันเสร็จแล้วก็จะกระจายข้อมูลของตัวเองให้ Validator Node อื่นๆ ในโลกรู้ (เราเรียกการกระจายนี้ว่า Broadcasting)
  • พอทั่งคู่กระจายมาถึงอังกฤษ (ตรงกลาง) Validator Node ที่อังกฤษงงว่า “จะต้องให้อันไหนเป็น Block ที่ 101
  • คำตอบของคือกฎของบล็อกเชนนั่นเอง คือ “บล็อกเชนจะเชื่อบล็อกสายที่ยาวกว่าเสมอ” นั่นก็คือ Validator Node ไหนที่ขุด Block ที่ 102 และกระจายมาถึงอังกฤษได้ก่อน ข้อมูลสายนั้นจะถูกยืนยันนั่นเอง
  • งั้นสมมุติว่าฝั่งอเมริกาขุด Block ที่ 102 ได้ก่อน ข้อมูลของฝั่งอเมริกาก็จะถูกเขียนลงไปก่อน เป็นการเขียนทับข้อมูลที่ฝั่งไทยเห็น ซึ่งการเขียนทับอาจเกิดขึ้นได้อีกเรื่อยๆ หากยังมีธุรกรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันอีก
  • ดังนั้น Block ที่ 101 ถูกเป็นของฝั่งอเมริกา งั้นแปลว่า Block ที่ 101 ของฝั่งไทยที่ถูกเขียนทับจะหายไปไหม ?
  • คำตอบคือ ไม่ได้หายไปไหนแต่แค่อาจจะถูกยืนยันช้าลง กลายเป็น Block ถัดไปแทน แต่ก็มีบางครั้งที่ยืนยันไม่สำเร็จแต่เกิดขึ้นไม่บ่อย

จะเห็นได้ว่ามันอาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ผู้คนส่วนมากเลยรอ 3 - 6 Block เพื่อยืนยันว่าธุรกรรมที่เราทำไปแล้วนั้นเกิดขึ้นจริงๆ ซึ่งยิ่งรอนานเท่าไหร่ก็หมายความว่ายิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น ลดโอกาสการเกิด Double Spend และ 51% Attack ได้

Source:
Block Confirmation
หากเราต้องการโอนเงินไปให้เพื่อน โดยใช้ Bitcoin (BTC) หลายๆ คนคงเคยได้ยินว่าต้องรอยืนยัน 3 Block เพื่อยืนยันว่าโอนเงินสำเร็จ และการโอนเงินเข้า Centralize Exchange ต้องรอยืนยันมากถึง 6 Block ซึ่งบางครั้งใช้เวลาหลายชั่วโมง แล้วทำไมเราต้องรอนานขนาดนั้นด้วยล่ะ? ขอบคุณภาพจาก Binance เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น...
Block Reward

Block Reward คือรางวัลที่คอยจูงใจให้ผู้คนเข้ามาร่วมเป็นผู้ดูแลระบบ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่ใน Consensus Mechanism ของบล็อกเชน ทำให้บล็อกเชนมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ทำให้บล็อกเชนมีความกระจายศูนย์ (Decentralize) มากขึ้น เรามาดูบทบาทของ Block Reward ใน Consensus Mechanism กันดีกว่า

ท้าวความกลับไปก่อนว่า Consensus Machanism คือสิ่งที่ผู้ดูแลระบบจะต้องทำร่วมกัน ซึ่งแต่ละบล็อกเชนก็จะมี Consensus Mechanism รูปแบบแตกต่างกันไปตามการออกแบบของเขา ซึ่งเราจะยกตัวอย่าง Consensus หลักๆ 2 ตัวได้แก่ Proof of Work (PoW) และ Proof of Stake (PoS)

Proof of Work 

ตัวอย่าง PoW บล็อกเชนที่เรารู้จักกันดีคือ Bitoin!! ซึ่ง Bitcoin จะมีกฎอยู่ว่า หากใครต้องการจะได้ Bitcoin เป็นรางวัลจะต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้ได้ “ใครแก้ได้ก่อนรับ Bitcoin ไปเลย” ทำให้มีคนมากมายเข้ามาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์นี้ หรือที่เราเรียกกันว่าขุดนั่นเอง ซึ่ง Bitcoin ที่แจกคือ Block Reward ที่ทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจให้คนเข้ามาช่วยดูแลระบบและผู้ดูแลระบบหรือนักขุดที่ว่านี้ใน PoW Consensus คือ GPU หรือ Asics นั่นเอง

จากข้างบนที่แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แล้วได้รับ Bitcoin เป็นรางวัล แต่จริงๆ แล้ว Block Reward ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ Block Subsidy และ Transaction Fees

  • Block Subsidy คือเหรียญส่วนที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อให้เป็นแรงจูงใจสำหรับคนที่เข้ามาเป็นนักขุด
  • Transaction Fees คือเหรียญส่วนที่เก็บจากการทำธุรกรรมของผู้คนในระบบ

ถ้าแจก Block Subsidy ไปเรื่อยๆ อย่างนั้นจำนวนเหรียญก็เพิ่มขึ้นไม่มีวันหยุดแล้วมันเหรียญมันจะมีมูลค่าได้ยังไง ? เพื่อป้องกันปัญหานี้ Satoshi Nakamoto ได้คิดไว้แล้วด้วยการให้ Block Reward มีการเพิ่มลดลงครึ่งหนึ่งหรือ Bitcoin Halving ทุก 4 ปี ทำให้จำนวนเหรียญมีการเพิ่มมีจำกัดตามอนุกรมทางคณิตศาสตร์ โดยเริ่มต้น ที่ 50 Bitcoin ต่อ 1 Block ลดลงเป็น 25, 12.5, 6.25 ลดลงเรื่อยๆ จนเป็นเลขทศนิยม และจบลงในปี 2143 หลังจากนั้นก็จะมีแค่ Transaction Fees ที่คอยเป็นเป็นแรงจูงใจให้คนเข้ามาขุด

* Block Reward ใช้ใน PoW บล็อกเชนทุกรูปแบบ แต่ตัวอย่างที่ยกมาเป็น Bitcoin ที่เรารู้จักกันดี

Proof of Stake

แน่นอนว่าตัวอย่างที่ยกมาก็หนีไม่พ้น Etheruem นั่นเอง ซึ่ง Proof of Stake จะมีกฎอยู่ว่า จะให้รางวัลสำหรับคนที่นำเหรียญ Eth มาฝากไว้ ซึ่ง Eth ที่แจกให้จะทำหน้าที่เป็น Block Reward ที่คอยจูงใจให้คนนำเอาเหรียญ Eth มาฝากเพื่อเป็นผู้ดูแลระบบ และผู้ดูแลระบบของ PoS จะเรียกว่า Validator Node

แต่ Ethereum มีการแจก Block Subsidy เรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้เหรียญมีการเฟ้อเรื่อยๆ ทำให้ Ethereum ได้ออก EIP-1559 ที่จะมีการทำลายเหรียญ ETH ทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรม ทำให้มีทั้งการเพิ่มจาก Block Subsidy และการลดจาก Burn Mechanism หากในอนาคต Ethereum เติบโตขึ้นอย่างมากมีและมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นทำให้อัตราการทำลายเหรียญ (Burn Rate) มากกว่า Block Subsidy จะทำให้เกิดเหรียญ ETH มีจำนวนลดน้อยลง (Deflationary) และเพิ่มราคาของเหรียญได้ในอนาคต

* Block Subsidy ใช้ในทุกๆ PoS บล็อกเชนแต่ Burn Mechanism นั่นขึ้นอยู่กับการออกแบบของตัวบล็อกเชน

Source:
Block Reward
Block Reward คือรางวัลที่คอยจูงใจให้ผู้คนเข้ามาร่วมเป็นผู้ดูแลระบบ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่ใน Consensus Mechanism ของบล็อกเชน ทำให้บล็อกเชนมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ทำให้บล็อกเชนมีความกระจายศูนย์ (Decentralize) มากขึ้น เรามาดูบทบาทของ Block Reward ใน Consensus Mechanism กันดีกว่า ท้าวความกลับไปก่อนว่า Consensus...
Total Supply

“Total supply” หรือโทเคนหรือเหรียญทั้งหมดในตลาด ณ เวลานั้นๆซึ่งจะรวมถึง เหรียญที่ถูกปลดออกมาหมุนเวียนในตลาดแล้ว (Circulating supply) และเหรียญที่ถูกผลิตออกมาแต่ยังถูกล็อกอยู่ตามเงื่อนไขต่างๆของแต่ละโปรเจค หักลบด้วยเหรียญที่ถูกทำลาย (Burned) ออกไปแล้ว 

ตัว Total supply นั้นสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ผ่านการผลิตเพิ่ม (Minted) หรือการทำลายทิ้ง (Burned) ยกตัวอย่างเช่น อีเวนท์การทำลายเหรียญ BNB ของ binance ทุกๆไตรมาสก็จะส่งผลให้ Total supply ของเหรียญ BNB นั้นลดลงตามไปด้วย

Total supply นั้นยังมีส่วนสำคัญในการประเมินมูลค่าตลาดของเหรียญทั้งหมด(Fully Diluted Market Cap หรือ FDMC) ในกรณีที่เหรียญนั้นๆไม่ได้มีการกำหนด maximum supply หรือปริมาณเหรียญสุทธิผ่านสมการ

FDMC = Total Supply x ราคาของเหรียญ

โดยจะแทนที่ Maximum supply ด้วย total supply ซึ่งสามารถใช้ในการคาดการณ์มูลค่าของเหรียญในอนาคตหลังจากการปลดล็อกเหรียญส่วนที่เหลือได้

Max supply vs Total supply vs Circulating supply

Circulating supply นั้นจะนับเฉพาะเหรียญที่ปลดล็อก หมุนเวียนและเปิดให้ซื้อขายอย่างสาธารณะซึ่งจะถูกนำมาคำนวณหามูลค่าตลาด (Market cap)ปัจจุบันของเหรียญนั้นๆ ในขณะที่ total supply นั้นจะนับรวม circulating supply รวมถึงเหรียญที่ถูกสร้างออกมาแล้วแต่ยังถูกล็อกอยู่ ส่วน max supply นั้นจะนับรวมเหรียญทั้งหมดที่ถูกล็อก ที่ปลดล็อกมาแล้ว และที่ถูกทำลายไปแล้ว

Source:
Total Supply
“Total supply” หรือโทเคนหรือเหรียญทั้งหมดในตลาด ณ เวลานั้นๆซึ่งจะรวมถึง เหรียญที่ถูกปลดออกมาหมุนเวียนในตลาดแล้ว (Circulating supply) และเหรียญที่ถูกผลิตออกมาแต่ยังถูกล็อกอยู่ตามเงื่อนไขต่างๆของแต่ละโปรเจค หักลบด้วยเหรียญที่ถูกทำลาย (Burned) ออกไปแล้ว ตัว Total supply นั้นสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ผ่านการผลิตเพิ่ม (Minted) หรือการทำลายทิ้ง (Burned) ยกตัวอย่างเช่น...
Circulating Supply

คำว่า “Circulating supply” หมายถึงปริมาณเหรียญหรือโทเคนที่ถูกปลดออกหมุนเวียนในตลาดเรียบร้อยแล้ว ทำให้นักลงทุนทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ทั่วไปตาม Market ต่างๆนั่นเอง ซึ่งในส่วนนี้จะแยกออกจากเหรียญที่ถูกล็อคเอาไว้ หรืออธิบายง่ายๆว่า Circulating supply จะเท่ากับ Total supply ลบด้วยจำนวนเหรียญที่ยังถูกล็อคไว้นั่นเอง

โดย Circulating supply ของเหรียญสามารถเพิ่มหรือลดลงได้ตามระยะเวลาที่ผ่านไป ตัวอย่างเช่น จำนวน Circulating supply ของเหรียญ OP ตอนนี้อยู่ที่ 644,594,782 เหรียญ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งถึง Max supply ที่ 4,294,967,296 เหรียญ ซึ่ง CIrculating supply ของเหรียญ OP จะเพิ่มขึ้นตามตารางการปลดเหรียญและจากการแจก Incentive ต่างๆ เช่น แจก Core contributor, การแจก Airdrop สำหรับผู้ใช้งาน, Retroactive Public Goods Funding เป็นต้น ในทางตรงข้าม จำนวน Circulating supply ยังสามารถลดลงได้จากการ Burn หรือเผาเหรียญ เช่น เหรียญ Ethereum มีมาตรฐาน EIP-1559 ที่เป็นการเผาเหรียญ ETH จาก Base fee ที่เกิดจากการใช้งานบนเชน Ethereum ซึ่งถ้าจำนวนการใช้งานมากกว่าจำนวนเหรียญที่เกิดขึ้นใหม่ก็มีโอกาสทำให้ Circulating supply ของ ETH ลดลงได้

นอกจากนี้ Circulating Supply ยังช่วยในการคำนวณ Market Cap ของเหรียญนั้นๆได้ โดยการนำ Circulating supply ไปคูณกับราคาตลาด และยังสามารถใช้ดูประกอบกับ Max Supply เพื่อคาดการณ์ราคาหรือแนวโน้มในอนาคตของเหรียญนั้นๆได้ในระดับหนึ่ง

Max supply vs Total supply vs Circulating supply

Circulating supply นั้นจะนับเฉพาะเหรียญที่ปลดล็อก หมุนเวียนและเปิดให้ซื้อขายอย่างสาธารณะซึ่งจะถูกนำมาคำนวณหามูลค่าตลาด (Market cap)ปัจจุบันของเหรียญนั้นๆ ในขณะที่ total supply นั้นจะนับรวม circulating supply รวมถึงเหรียญที่ถูกสร้างออกมาแล้วแต่ยังถูกล็อกอยู่ ส่วน max supply นั้นจะนับรวมเหรียญทั้งหมดที่ถูกล็อก ที่ปลดล็อกมาแล้ว และที่ถูกทำลายไปแล้ว

Source:
Circulating Supply
คำว่า “Circulating supply” หมายถึงปริมาณเหรียญหรือโทเคนที่ถูกปลดออกหมุนเวียนในตลาดเรียบร้อยแล้ว ทำให้นักลงทุนทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ทั่วไปตาม Market ต่างๆนั่นเอง ซึ่งในส่วนนี้จะแยกออกจากเหรียญที่ถูกล็อคเอาไว้ หรืออธิบายง่ายๆว่า Circulating supply จะเท่ากับ Total supply ลบด้วยจำนวนเหรียญที่ยังถูกล็อคไว้นั่นเอง โดย Circulating supply ของเหรียญสามารถเพิ่มหรือลดลงได้ตามระยะเวลาที่ผ่านไป ตัวอย่างเช่น...
Token

สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นตามพ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลแล้วมีด้วยกัน 2 ประเภทอย่างแรกคือ คริปโทเคอร์เรนซี (Coin) และอีกอย่างคือ โทเคนดิจิทัล (Token) สำหรับโทเคนดิจิทัลหรือเรียกสั้นๆ ว่าโทเคนเฉยๆนั้นหมายถึง หน่วยเก็บมูลค่าทางดิจิทัลที่ถูกออกโดยบริษัทต่างๆ ผ่าน blockchain ซึ่งโทเคนอาจแสดงถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของต่ออะไรบางอย่างหรือเป็นเครื่องมือในการใช้งานตัวระบบ blockchain ซึ่งโทเคนสามารถจำแนกได้ตามรูปแบบการใช้งานหรือตัวคุณสมบัติของโทเคน

  1. แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน
    • Utility token = โทเคนสำหรับการใช้งาน blockchain นั้นๆหรือมีประโยชน์ในการใช้สอยบนระบบ อาทิ BNB เป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นโดย Binance โดยผู้ใช้สามารถใช้ BNB เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมในการเทรดบน binance ได้ เข้าร่วม ICO ของ binance ได้ หรือแม้กระทั่งใช้เป็นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบน binance chain เองก็ตาม
    • Security token = โทเคนตัวแทนสินทรัพย์ต่างๆ สำหรับให้ผู้ร่วมลงทุนได้สิทธิในการลงทุนใน ICO ต่างๆ ซึ่งตัวโทเคนจะเป็นตัวกำหนดสิทธิในการลงทุนให้ผู้ถือครอง
  1. แบ่งตามคุณสมบัติของโทเคน
    • Fungible token =โทเคนที่ไม่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งแต่ละโทเคนจะมีมูลค่าและคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ ตัวอย่างเช่น เหรียญ ETH แต่ละเหรียญที่มีมูลค่าและคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด หรือ ธนบัตร 100 บาท เมื่อนำธนบัตร 100 บาทไปแลกกับธนบัตร 100 บาทอีกใบหนึ่ง มูลค่าก็ไม่ได้ลดลงและทั้ง 2 ใบก็สามารถใช้แทนกันได้
    • Non-fungible token = โทเคนที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ เพราะตัว Non-fungible token หรือ NFT นั้นจะเป็นโทเคนที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยแต่ละ NFT นั้นจะมีมูลค่าไม่เหมือนกัน โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆคือ NFT ที่เป็นภาพศิลปะต่างๆ ที่ถ้าจะมีความเป็นเอกลักษณ์รวมถึงมูลค่าในตัวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
Source:
Token
สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นตามพ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลแล้วมีด้วยกัน 2 ประเภทอย่างแรกคือ คริปโทเคอร์เรนซี (Coin) และอีกอย่างคือ โทเคนดิจิทัล (Token) สำหรับโทเคนดิจิทัลหรือเรียกสั้นๆ ว่าโทเคนเฉยๆนั้นหมายถึง หน่วยเก็บมูลค่าทางดิจิทัลที่ถูกออกโดยบริษัทต่างๆ ผ่าน blockchain ซึ่งโทเคนอาจแสดงถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของต่ออะไรบางอย่างหรือเป็นเครื่องมือในการใช้งานตัวระบบ blockchain ซึ่งโทเคนสามารถจำแนกได้ตามรูปแบบการใช้งานหรือตัวคุณสมบัติของโทเคน
DeFi (Decentralized Finance)

DeFi หรือย่อมาจาก Decentralized Finance นั้นกล่าวถึงแอปพลิเคชันทางการเงินต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นอยู่บนระบบล็อกเชน โดยในปัจจุบันมี 3 อย่างหลักๆคือ

  1. ธนาคารดิจิทัล (ที่ออกเหรียญ Stablecoin)
  • Collateralized Stablecoin = Stablecoin ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันอยู่ในมูลค่าเทียบเท่ากับ stablecoin ที่ผลิตออกมา
  • Non-collateralized Stablecoin = Stablecoin ที่ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน อาจจะกำหนดราคาของ stablecoin ให้เทียบเท่ากับดอลลาร์ผ่านการใช้ algorithm ต่างๆ
  1. แพลตฟอร์มกู้ยืมเงิน
  • Liquidity pool lending protocol = ในระบบ DeFi แพลตฟอร์มกู้ยืมเงินจะให้ผู้กู้ยืมเงินจากสภาพคล่องที่มีผู้ฝากวางลงไปด้วยกัน แตกต่างจากการกู้แบบตัวต่อตัวในการเงินแบบเดิม ตัวอย่างของแพลตฟอร์มที่โด่งดังเช่น Aave และ Compound
  1. เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น DEX, อนุพันธ์, แพลตฟอร์มแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคน
  • DEX = ศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลแบบไร้ศูนย์กลาง เช่น Uniswap และ Pancakeswap
  • Derivative = แพลตฟอร์มสำหรับการเทรดอนุพันธ์แบบไม่มีตัวกลาง โดยผู้ให้สภาพคล่องจะเป็นผู้ใช้งานระบบ หรือคนที่ต้องการได้รายได้จากการเป็นผู้ให้สภาพคล่อง เช่น dYdX
  • Tokenization = แพลตฟอร์มสำหรับแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคนดิจิทัล ตัวอย่างเช่น Synthetix protocol

ข้อดีหลักๆของ DeFi ที่เหนือกว่า Traditional Finance ก็คือการที่ระบบ DeFi นั้นทำงานบนระบบ smart contract ที่มีความปลอดภัย สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งยังลดความซับซ้อนในการดำเนินงานอีกด้วย นอกจากนี้การที่แพลตฟอร์ม DeFi หลายๆตัวนั้นได้ถูก deploy บนบล็อกเชนที่เป็นที่รู้จักอย่าง Ethereum ก็จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ที่มาใช้บริการเพิ่มเติมอีกด้วย

ในทางกลับกันแล้ว เนื่องจาก DeFi นั้นเป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้มีความเสี่ยงหลายๆอย่างในการใช้งาน เช่น smart contract risk ที่ทำให้ผู้ใช้งานสูญเงินจากการทำธุรกรรม ทั้งยังมีปัญหาด้าน oracle ที่บางครั้งการอ้างอิงราคาหลักทรัพย์ก็ผิดพลาดได้ หรือจะเป็นทั้งที่ตัว blockchain มีการทำธุรกรรมมากทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งธุรกรรม อาจทำให้เกิดความขัดข้องหรือค่าธรรมเนียมที่สูงเกินเหตุได้ ทั้งนี้การใช้งาน DeFi ควรใช้งานอย่างระมัดระวังและศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนเสมอ 

Source:
DeFi (Decentralized Finance)
DeFi หรือย่อมาจาก Decentralized Finance นั้นกล่าวถึงแอปพลิเคชันทางการเงินต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นอยู่บนระบบล็อกเชน โดยในปัจจุบันมี 3 อย่างหลักๆคือ ข้อดีหลักๆของ DeFi ที่เหนือกว่า Traditional Finance ก็คือการที่ระบบ DeFi นั้นทำงานบนระบบ smart contract ที่มีความปลอดภัย...
Flash Loan

Loan หรือการกู้ยืมเงิน ภาพที่คิดได้ทันทีหลังจากที่ได้ยินคำนี้คือการเอาบางอย่างไปค้ำประกันเพื่อให้ได้เงินมาใช้ทั้งใน Traditional Finance หรือ Decentralize Finance(DeFi) เอง แต่ในโลก DeFi มีสิ่งที่เรียกว่า Flash Loan ที่เข้ามาเปลี่ยนความคิดเราใหม่ทั้งหมด เพราะ Flash Loan ไม่ได้ต้องการอะไรค้ำประกัน ซึ่งจะเป็นการยืมเงินออกไปจำนวนหนึ่ง ใช้จ่ายอะไรก็ได้แล้วจ่ายกลับคืนภายในระยะเวลาสั้นๆ 

เทคโนโลยีเบื้องหลัง Flash Loan คือ Smart Contract ซึ่ง Smart Contract จะเขียนทุกขั้นตอนเกี่ยวกับเงินก้อนนั้นว่าจะทำอะไรบ้าง ผ่านไปที่กระเป๋าไหนบ้างและท้ายที่สุดเงินนั้นกลับมาที่ผู้ปล่อยกู้ ทำให้ตัดตัวกลางออกไปและรับประกันได้ว่าเงินจะต้องกลับมาถึงผู้ปล่อยให้กู้อย่างแน่นอนและโดยปกติแล้ว Flash Loan จะจบลงใน 1 Block อย่างไรก็ตาม Flash Loan อาจทำไม่สำเร็จได้หากการทำบางขั้นตอนใน Smart Contract ทำไม่สำเร็จ ทุกธุรกรรมจะถูกย้อนกลับมาและเงินก็จะกลับมาสู่ผู้ปล่อยกู้ จะเห็นได้ว่าแทบจะไม่มีความเสี่ยงในการปล่อยกู้ Flash Loan เลย ซึ่ง Flash Loan Provider หรือผู้ปล่อยกู้ในโลกคริปโตจะมีเจ้าหลักๆ คือ AAVE, Equalizer, dydx และ Uniswap การปล่อยกู้ Flash Loan จะเก็บค่าธรรมเนียม (Fees) กับผู้กู้และอัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับแต่ละเจ้า เช่น AAVE มีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 0.09%

Flash Loan ใช้ทำอะไร

Arbitrage

การทำ Arbitrage คือการซื้อถูกจากที่หนึ่งไปขายแพงในอีกที่หนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เราซื้อแอปเปิลจากแม่ได้ในราคา 1$ แล้วเราเอาไปขายในตลาดได้ราคา 2$ ทำให้เราได้กำไรจากส่วนต่างของราคา 1$

ในการทำ Flash Loan เราจะทำเหมือนกันแต่จะมีเนื้อหาใน Smart Contract หลากหลายกว่าดังนี้

  1. เราเห็นว่าราคา Ethereum บน Uniswap ถูกกว่า Ethereum บน Curve ซึ่งเป็นโอกาสดีในการทำ Arbitrage
  2. ขอ Flash Loan ที่ AAVE จำนวน 19,000,000 USDC
  3. Swap ETH บน Uniswap ได้จำนวน 10,000 ETH
  4. Swap เป็น USDC ที่ Curve ได้ 20,000,000 USDC
  5. จ่ายคืน USDC ที่ได้มาจาก Flash Loan จำนวน 19,017,100 USDC รวมค่าธรรมเนียม
  6. ได้กำไร 982,900 USDC

Collateral Swap

Collateral swap หรือการเปลี่ยนสินทรัพย์ค้ำประกันจากที่ต่างเช่น MakerDAO ยกตัวอย่างเช่น เราค้ำ ETH ใน MakerDAO เพื่อที่จะเอา Dai ออกมาแล้วเอา Dai ไปทำอย่างอื่นแล้ว แต่เราไม่อยากถือ ETH แล้ว อยากถือ WBTC แทน แต่เราไม่สามารหาเงินกู้ที่ดึงออกแล้วไปมาคืนได้ เราสามารถใช้ Flash Loan แก้ปัญหาได้

มีขั้นตอนการทำ Flash Loan และเนื้อหาใน Smart Contract ดังนี้

  1. ขอ Flash Loan กับ AAVE เป็นสกุลเงินใดก็ได้ที่เราจะเอาไปจ่าย Maker DAO (ตัวอย่างเป็น Dai)
  2. จ่ายเงินกู้ที่เอาออกมาจาก Maker DAO
  3. Maker DAO คืน ETH ที่ค้ำประกันไว้ให้กับเรา
  4. Swap ETH เป็น WBTC บน Uniswap
  5. เอา WBTC ไปค้ำใน Maker DAO
  6. กู้ Dai ออกมา
  7. เอา Dai ที่กู้ออกมาไปจ่าย Flash Loan ที่เอามาจาก AAVE

Self Liquidation

Self Liquidation จะคล้ายกันกับ Collateral swap ซึ่งจะมีวิธีการบางส่วนที่คล้ายกัน แต่สถาณการณ์จะแตกต่างกันออกไป ใน Self Liquidation จะเกิดขึ้นเมื่อต้องการนำสินทรัพย์ค้ำประกันที่ฝากไว้ออกมา ไม่อยากกู้ต่อแล้ว ในสถานการณ์นี้ Flash Loan ช่วยได้

มีขั้นตอนการทำ Flash Loan และเนื้อหาใน Smart Contract ดังนี้

  1. ทำการขอ Flash Loan กับ AAVE เป็นสกุลเงินใดก็ได้ที่เราจะเอาไปจ่าย Maker DAO (ตัวอย่างเป็น Dai)
  2. จ่ายเงินกู้ที่เอาออกมาจาก Maker DAO
  3. Maker DAO คืน ETH ที่ค้ำประกันไว้ให้กับเรา
  4. Swap ETH ที่ได้จาก MakerDAO เป็น Dai
  5. เอา Dai ที่ได้จากการ Swap ETH ไปจ่าย Flash Loan ที่เอามาจาก AAVE

ข้อควรระวังในการทำ Flash Loan

จากตัวอย่างและเทคโนโลยี Smart Contract จะเห็นได้ว่าแทบจะไม่มีความเสี่ยงในการทำ Flash Loan เลย สำหรับผู้ให้กู้ แต่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นในฝั่งของผู้กู้ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆที่ผู้กู้ต้องแบกรับไว้

  • Flash Loans Fees หรือค่าธรรมเนียมการกู้ยืม Flash Loan ซึ่งแต่ละที่จะมีเรทที่แตกต่างกัน เช่น AAVE 0.09%
  • Transaction Fees หรือค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบน Blockchain ซึ่งผู้กู้ต้องรับทั้งหมด
  • Price Slippage หรือราคาสินทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปจากการซื้อขาย จากตัวอย่างที่มีการซื้อขายสินทรัพย์เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดจะเห็นได้ว่ามีโอกาสที่ราคาสินทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย เกิดขึ้นได้จาก จำนวนเหรียญที่ขาย Liquidity ของเจ้าที่ขาย
  • Front runner หรือการที่มีคนเห็นโอกาสเดียวกันกับเราในการทำ Arbitrage เลยทำแบบเดียวกันก่อน ทำให้เกิด Price Slippage ขนาดใหญ่ขึ้น

สำหรับความเสี่ยงของผู้ให้กู้ที่แทบจะไม่มี ส่วนมากจะไม่ใช่ความเสี่ยงของ Flash Loan เอง แต่จะเป็นความเสี่ยงของ Platform, Smart contract, หรือ Coding ต่างๆ

Flash Loan Attack

Price Manipulation

Price Manipulation เป็นการใช้ Flash Loan โจมตีราคาสินทรัพย์ ซึ่งจะใช้ช่องโหว่ของการปรับระดับราคาและ Liquidity ใน Pool นั้นๆ โดยมีวิธีการและเนื้อหาใน Smart Contract ดังนี้

  1. ทำการขอ Flash Loan กับ AAVE เป็นสกุลเงินใดก็ได้ที่เราจะเอาไปจ่าย Maker DAO (ตัวอย่างเป็น ETH)
  2. Swap WBTC บน Uniswap (ทำให้ราคา ETH ลดลงและราคา BTC เพิ่มขึ้น)
  3. เอา WBTC ที่ซื้อมาจาก Uniswap ไปฝากไว้ MakerDAO เพื่อเป็นเงินค้ำประกัน
  4. กู้ ETH มาจาก MakerDAO ที่ค้ำโดย WBTC
  5. นำ ETH ที่กู้มาไปจ่ายคืน Flash Loan บน AAVE
  6. สรุป ราคา ETH ลดลง และ ราคา WBTC เพิ่มขึ้น จากการจ่ายแค่ Transaction Fees

หรืออีกรูปแบบหนึ่งเป็นการทำกำไรได้ด้วย ช่องโหว่ของการปรับระดับราคาและ Liquidity ใน Pool นั้นๆ จะมีวิธีการที่แตกต่างไปเล็กน้อย

  1. ทำการขอ Flash Loan กับ AAVE เป็นสกุลเงินใดก็ได้ที่เราจะเอาไปจ่าย Maker DAO (ตัวอย่างเป็น ETH)
  2. Swap WBTC บน Uniswap (ทำให้ราคา ETH ลดลงและราคา BTC เพิ่มขึ้น)
  3. ทำการขอ Flash Loan กับ dydx เป็นสกุลเงินเดียวกันกับที่เรา Swap ได้มา (ตัวอย่างเป็น WBTC)
  4. Swap ETH บน Uniswap (ETH ราคาตำ่อยู่และ WBTC ราคาสูงอยู่)
  5. นำ WBTC จากการ Swap ครั้งแรกไปจ่าย dydx และนำ ETH จากการ Swap ครั้งที่ 2 ไปจ่าย AAVE ในส่วน ETH ที่เหลืออยู่คือกำไร

จากที่ดูมาทั้งหมด การกู้ยืมเงินแบบไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันหรือ Flash Loan เป็นนวัตกรรมที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในโลก Traditional Finance แต่การมาของ Smart Contract ทำให้การกู้ยืมเงินแบบไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันเป็นไปได้ ถึงตอนนี้จะมี Usecase เพียงน้อยนิด เช่น Arbitrage, Collateral Swap และ Self Liquidation แต่การกู้ยืมเป็นไอเดียพื้นฐานในโลกแห่งการเงิน ดังนั้นในอนาคตจะต้องมีคนเอาไอเดียพื้นฐานนี้ไปต่อยอดหา Usecase ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ให้ Flash Loan ได้ อย่างไรก็ตาม Flash Loan ไม่ได้มีข้อแต่ดีเสมอไป Flash Loan สามารถกลับมาทำร้ายตัวเองได้สำหรับผู้กู้ ทั้งค่าธรรมเนียมต่างๆ จาก Platform หรือ Blockchain เองล้วนนับเป็นต้นทุนทั้งสิ้น ที่มากไปกว่านั้นยังมีการใช้ Flash Loan เพื่อโจมตีตลาดอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำ Price Manipulation หรือการทำกำไรด้วย Price Manipulation เอง

Source:
Flash Loan
Loan หรือการกู้ยืมเงิน ภาพที่คิดได้ทันทีหลังจากที่ได้ยินคำนี้คือการเอาบางอย่างไปค้ำประกันเพื่อให้ได้เงินมาใช้ทั้งใน Traditional Finance หรือ Decentralize Finance(DeFi) เอง แต่ในโลก DeFi มีสิ่งที่เรียกว่า Flash Loan ที่เข้ามาเปลี่ยนความคิดเราใหม่ทั้งหมด เพราะ Flash Loan ไม่ได้ต้องการอะไรค้ำประกัน ซึ่งจะเป็นการยืมเงินออกไปจำนวนหนึ่ง...
Cross-chain bridge

Cross-chain bridge เป็นกลไกที่ช่วยในการเคลื่อนย้าย Asset และข้อมูลระหว่างเครือข่ายบล็อกเชนที่แตกต่างกันได้ ซึ่งรายละเอียดการออกแบบ Blockchain แต่ละตัวนั้นล้วนแตกต่างกันทั้งภาษาที่เขียน Software ที่ใช้ประมวลผล เป็นต้น ทำให้การสื่อสารข้ามกันระหว่างเชนด้วยกันนั้นยังไม่สามารถทำได้ราบรื่นนัก ซึ่งความสามารถในการทำงานร่วมกันข้ามเครือข่าย (Cross-chain interoperability) ถือเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรม Blockchain และคริปโตฯ ซึ่งตัว Cross-chain bridge นี้เองที่เข้ามาช่วยเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย

ที่มาของ Cross-chain bridge

หลังจากการเกิดขึ้นของ Smart Contract Blockchain อย่าง Ethereum ทำให้การใช้งานและเม็ดเงินต่างหลั่งไหลเข้ามาในโลก Cryptocurrency มากขึ้น ทั้งการประยุกต์ไปทำการระดมทุนโดยไม่ต้องผ่านรัฐอย่าง ICO, การสร้างระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลางอย่าง DeFi และ NFT, GameFi รวมถึง Metaverse ที่เริ่มเชื่อมโยง Use Cases ต่างๆให้มีเข้าถึงกลุ่มคนทั่วไปได้มากขึ้น

แต่การใช้งานที่มากขึ้นบน Ethereum ก็ทำให้เกิดความหนาแน่นของธุรกรรมจนช้าและค่าธรรมเนียมสูง จึงเกิด Blockchain Layer 1 ทางเลือกขึ้นมามากมายโดยมีทั้งเน้นไปที่ความเร็วเป็นหลักบ้าง เน้นการใช้งานด้านเกมส์หรือ NFT เป็นหลักบ้าง โดยในตอนนี้มีมากกว่า 150 เชนที่ลิสต์อยู่ในรายชื่ออย่างเป็นทางการบน Defillama แล้ว ดังนั้นจึงมีแนวคิดเกี่ยวกับ Solution ต่างๆในการส่งข้อมูลระหว่างเชนขึ้นมา ซึ่งหนึ่งในนั้นที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คือการใช้ Cross-chain bridge ที่ใช้ในการส่ง Asset ข้ามเชน 

ประเภทของ Cross-chain bridge

โดยในปัจจุบันส่วนมากเทคโนโลยีที่คนพูดถึงกันเยอะที่สุดก็มีอยู่ 2 ประเภทหลักด้วยกันคือ Intermediate Layer และ Light Client ช่วยในการเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลระหว่างสองเชน โดยแต่ละวิธีก็มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันไป 

Intermediate Layer คืออะไร

Intermidiate Layer หรือ Middle Chain เป็นตัวกลางที่อยู่ระหว่าง Blockchain ทั้งสองที่ต้องการสื่อสารระหว่างกัน โดย Middle Chain นี้มีหน้าที่รับข้อมูล (Receive), ตรวจสอบความถูกต้อง (Validate) และส่งคำสั่งหรือข้อมูลระหว่างเชน ยกตัวอย่างโปรเจกต์ที่เป็น Intermediate layer ที่เรารู้จักกันดี อย่างเช่น Relay chain ของ Pokadot นั่นเอง ซึ่งข้อดีของ Intermediate Layer คือ แม้ว่าจะเป็นวิธีการที่เข้าใจได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และต้นทุนไม่สูง (เมื่อเทียบกับ Light Node) อย่างไรก็ตาม Intermediate layer ก็ยังข้อจำกัดที่น่ากังวล อย่างเช่น

  • การทำงานร่วมกันที่ถูกจำกัด (Limited Composability): มีข้อจำกัดในการเชื่อมต่อบล็อกเชนที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันอาจถูกจำกัดเพียงแค่รับ-โอนสินทรัพย์ระหว่างกันด้วยเหรียญ Wrapped Token เท่านั้น เช่น USDC.e บน Avalanche จะอ้างอิง USDC ที่โอนมาจาก Ethereum หรือบางเหรียญที่ไม่ถูกเขียนให้รองรับก็ไม่อาจส่งข้ามมาหากันได้ 
  • จุดเดียวของความล้มเหลว (Single Point of Failure): ด้วยความที่ตัวกลางอย่าง Intermidiate Layer เป็นศูนย์กลางที่เชื่อมระหว่างทั้งสองเชน ทำให้เกิดการรวมศูนย์ (Centralization) ซึ่งถึงแม้ว่าเรื่องของความ Decentralization นั้นจะสามารถเพิ่มได้ตามจำนวน Node แต่ก็ยังถือเป็นจุดอ่อนที่ร้ายแรงหาก Intermidiate Layer นี้มีปัญหา ทั้งสองเชนก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้ หรือหากกรณีที่ร้ายแรงกว่านั้นคือการเป็นเป้าหมายที่ถูกเพ่งเล็งจากการแฮคได้ง่าย เพราะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการส่งคำสั่งให้ทั้งสองเชนอย่างอิสระ

On-chain Light Node คืออะไร

On-chain Light Node หรือ Light Client เป็นอีกทางเลือกสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างสองเชน ที่ช่วยแก้ปัญหาและข้อจำกัดต่างๆของวิธีการแบบ Intermediate layer โดยมีความปลอดภัยและยืดหยุ่นกว่า Intermediate layer อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือต้นทุนค่อนข้างสูงกว่า ยกตัวอย่าง Cross-chain bridge ที่เป็น On-chain light node เช่น Rainbow bridge เป็นต้น

ความเสี่ยงของ Cross-chain bridge

ถึงแม้ Cross-chain bridge จะมีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็ยังมีข้อเสียบางอย่างที่ตามมาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่อาจมีช่องโหว่และถูกผู้โจมตีใช้เพื่อขโมย Asset จำนวนมากได้ ซึ่งในปี 2022 ถือว่าเป็นปีที่ยากลำบากของโปรโตคอลกลุ่ม Cross-chain Bridge อย่างมาก เพราะจากข้อมูลของ Chainanalysis บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้าน Blockchain พบว่า Cross-chain Bridge โดนแฮคมากกว่า 2,000 ล้านดอลาร์สหรัฐในปีเดียว 

นอกจากนี้ Cross-chain bridge ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่ทำให้มีข้อจำกัดในด้านการใช้งาน อย่างเช่น Liquidity, ความยุ่งยากในการเขียนโค้ดเพื่อรองรับบล็อกเชนที่ต่างกัน, ปัญหาความเร็วในการทำธุรกรรมเมื่อเกิดคอขวด เป็นต้น

อนาคตของ Cross-chain bridge

ในปัจจุบัน Cross-chain ยังมีปัญหาอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะเกิดการพัฒนา Cross-chain bridge ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ยังอาจมีการพัฒนาโปรโตคอลการสื่อสารข้ามเชนแบบใหม่ที่ไม่ใช่ Cross-chain bridge ตามมาด้วยก็ได้ 

Source:
Cross-chain bridge
Cross-chain bridge เป็นกลไกที่ช่วยในการเคลื่อนย้าย Asset และข้อมูลระหว่างเครือข่ายบล็อกเชนที่แตกต่างกันได้ ซึ่งรายละเอียดการออกแบบ Blockchain แต่ละตัวนั้นล้วนแตกต่างกันทั้งภาษาที่เขียน Software ที่ใช้ประมวลผล เป็นต้น ทำให้การสื่อสารข้ามกันระหว่างเชนด้วยกันนั้นยังไม่สามารถทำได้ราบรื่นนัก ซึ่งความสามารถในการทำงานร่วมกันข้ามเครือข่าย (Cross-chain interoperability) ถือเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรม Blockchain และคริปโตฯ ซึ่งตัว Cross-chain...
51 % attack คืออะไร ส่งผลต่อบล็อกเชนมากแค่ไหน ?

Distributed Ledger Technology หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อว่าบล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยีเติบโตขึ้นอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา ได้ขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัยสูง ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในการทำระบบธุรกรรมทางการเงินเป็นอย่างมาก เห็นได้ชัดว่าเกิดนวัตกรรมทางการเงินขึ้นมามากมายหลังจากเทคโนโลยีบล็อกเชนเติบโต ตั้งแต่ Decentralize Finance (Defi) ที่เราคุ้นเคยกัน และยังมีการใช้งานจากฝั่ง Traditional Finance อย่างเช่น Central Bank Digital Currency (CBDCs) อีกด้วย จะเห็นได้ว่าความปลอดภัยของบล็อกเชนได้รับความเชื่อถืออย่างล้นหลาม แต่อย่างไรก็ตาม ระบบบล็อกเชนก็ยังมีจุดอ่อนที่สามารถทำให้ความปลอดภัยและความเชื่อมั่นเหล่านั้นพังทลายลงมาได้ นั่นก็คือ 51% Attack

51 % Attack คืออะไร

51% Attack หรือ Majority Attack จะเกิดขึ้นเมื่อมีคนใดคนหนึ่งในระบบมีกำลังในการประมวณผลธุรกรรม (Hash Power) ที่มากจากผู้ยืนยันธุรกรรม (Node) มากกว่า 50% ของทั้งหมด ซึ่งแต่ละ Blockchain จะมีรูปแบบของของผู้ยืนยันธุรกรรมแตกต่างกันไปเช่น Bitcoin ที่ใช้ Proof of work ซึ่งผู้ยืนยันธุรกรรมใน Bitcoin Blockchain คือ Graphic Card (GPU), Asics ต่างๆ หรือที่เราเรียกกันว่านักขุด และใน Ethereum ที่ใช้ Proof of Stake ซึ่งผู้ยืนยันธุรกรรมคือคนที่มาวางเงินค้ำประกันไว้กับ Etheruem Foundation

51 % attack มักจะเกิดขึ้นใน Proof of Work Blockchain เพราะว่าเปิดอิสระเสรีให้ทุกคนเข้ามาเป็นผู้ยืนยันธุรกรรมได้ และที่ไม่เกิดขึ้นใน Proof of Stake Blockchain เพราะว่าจะมีการดูแลผู้ยืนยันธุรกรรมทั้งหมด เช่น Ethereum มี Etheruem Foundation ดูแล ซึ่งหากมีผู้ยืนยันธุรกรรมทำตัวแปลกไปจากระบบ Etheruem Foundation สามารถยึดเงินค้ำประกันแล้วไล่ผู้ยืนยันธุรกรรมคนนั้นออกไปได้

ถ้านักขุดมีกำลังขุดมากกว่า 50% นั้นหมายถึงนักขุดคนนั้นสามารถขุดบล็อกได้เร็วกว่า 49% ที่เหลือ แล้วขุดเร็วกว่ามันมีปัญหาอะไรล่ะ? เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายเราจะอธิบายวิธีการสร้าง Block ของบล็อกเชนกันก่อนดีกว่า

เทคโนโลยีบล็อกเชนถูกสร้างมาเพื่อการทำธุรกรรมแบบ Peer to Peer ซึ่งต้องเกิดจากการทำธุรกรรมของคนสองคน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราจะยกตัวอย่างจากสถาณการณ์ ซึ่งเราจะให้ชื่อตัวละครสองคนนี้ว่า Alice กับ Bob ซึ่งหลังจาก Alice ทำธุรกรรมหรือโอนเงินให้ Bob แล้วเกิดอะไรขึ้น

  • Alice โอนเงินให้ Bob เกิด Transaction (Txn)
  • Transaction ที่เกิดขึ้นจะถูกส่งไปเก็บใน Pool Transaction ที่ยังไม่ได้ยืนยันหรือ Unconfirm Transaction pool
  • Transaction บน Unconfirmed Transaction pool จะถูกนำไปดำเนินการต่อผ่านระบบ Blockchain ซึ่งต้องใช้ Validator Node ในการยืนยันธุรกรรม
  • Validator node ดึง Transaction ที่อยู่ บน Unconfirmed Transaction pool ลงมาเพื่อยืนยันธุรกรรมและสร้างเป็น Block
  • แต่ว่า Validator Node มี 2 แบบคือ Node ปกติ และ Hacker Node

ซึ่งปัญหาที่ทำให้เกิด 51% Attack อยู่ตรงนี้เพราะ Hacker node ซึ่งที่มากกว่า 50%  สามารถดึง Transaction จาก Unconfirmed Transaction Pool และยืนยันธุรกรรมได้เร็วกว่า Node ปกติ ซึ่งทำให้สร้าง Block ได้เร็วกว่า

โอเคเราเข้าใจการทำงานคร่าวๆ แล้วเราจะลงลึกกันที่ 51% Attack ว่าเขาเปลี่ยนแปลงระบบยังไง

สมมุติว่าผมมีกำลังขุด 51% และกำลังจะซื้อรองเท้าคู่หนึ่งราคา 100 BTC สิ่งที่ผมทำคือผมใช้แรงขุด 51% ขุดบล็อกเปล่าทิ้งไว้ใน Blockchain ที่ใช้โจมตีของผม

Noted : a,b,c,d,f BTC แทนการโอนอื่นที่อยู่ใน Unconfirmed Transaction Pool ไม่ใช่ Transaction เดียวกัน

หลังจากนั้นผมได้ทำการจ่ายเงินเพื่อซื้อรองเท้าของผมใน Block ที่ 100 ใน Bitcoin Blockchain ซึ่งเขาจะเห็นว่าผมได้จ่ายเงินในราคา 100 BTC แต่ในขณะเดียวกันใน Blockchian ที่ใช้โจมตีของผม ผมได้ทำการขุดบล็อกเปล่าไว้แทน 

หลังจากนั้นผมทิ้งเวลาไปช่วงหนึ่งเพื่อให้ผมได้รองเท้าก่อน (2 block, 101&102) พอผมได้รองเท้าผมก็ได้ให้ Private Blockchain ขุด Block ที่ 103 ด้วยความเร็วที่สูงกว่า (จากที่อธิบายไปในการสร้างบล็อก)ใน Bitcoin Blockchain แล้วผมก็เอาสิ่งที่เกิดขึ้นใน Blockchain ที่ใช้โจมตีไปบอกทุกคนใน Bitcoin Blockchain

หลังจากนี้จะเกิดความสับสนกันแล้วเพราะมี Block 2 สายอยู่ในระบบ ซึ่งโดยปกติแล้ว Blockchain จะเชื่อ Block สายที่ยาวกว่าเสมอ ซึ่ง Block สายที่เป็น Blockchain ที่ใช้โจมตีของผม (100 ถึง 104, 4 Block) ยาวกว่า Bitcoin Blockchain (100 ถึง 103, 3 block) ทำให้ Bitcoin Blockchain เอา Block สายที่ยาวกว่าหรือ Blockchain ที่ใช้โจมตีของผมมาเป็นของตัวเอง

Blockchain จะเชื่อ Block สายที่ยาวกว่าเสมอ

Noted: หลังจาก Bitcoin Blockchain เอา Block สายที่ยาวกว่าหรือ Blockchain ที่ใช้โจมตีของผมมาเป็นของตัวเอง

จะเห็นได้ว่าผมไม่ได้เสีย BTC เลยแต่ผมได้รองเท้ามาแล้ว ซึ่งผมสามารถนำ BTC ที่ผมมีนี้ไปใช้ได้อีกรอบหนึ่ง และวิธีการนี้เรียกว่า Double Spending ที่มากไปกว่านั้น 51% Attack ไม่ได้ทำได้แค่นี้ เราสามารถแบนไม่ให้คนอื่นโอน BTC ได้ด้วยวิธีการเดียวกันอีกด้วย

โอกาสในการเกิด 51% attack 

โอกาสในการเกิด 51% Attack ใน Bitcoin เกิดขึ้นค่อนข้างยาก หลังจากที่เราเข้าใจวิธีการทำงานจากข้างบนแล้ว สิ่งที่ได้มากจากการ 51% Attack เมื่อเทียบกับ Cost แล้วมันไม่คุ้มที่จะเสีย

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.crypto51.app/

จากรูปเป็นข้อมูลให้เช่า hashrate จาก NiceHash แต่ สำหรับ BTC ไม่มีเหลือให้เช่าแล้ว แล้วถ้า Hacker จะเอาเครื่อง Asic มาขุดเองต้องมีต้นทุนอย่างน้อยเท่าใด

  • Bitcoin Miner S19 XP Hyd ขุดได้ 257 Th/s และมีราคา 8,400 USD
  • Hashrate Bitcoin อยู่ที่ 365,000,000 TH/s ซึ่งถ้าจะเพิ่ม hashrate ให้ได้ 50% ต้องเพิ่มเข้าไป 1 เท่า 
  • ถ้าจะใช้ Asic ต้องใช้ Asic อยู่ที่ 365,000,000257 = ~ 1,420,234 เครื่อง 
  • ซึ่งคิดเป็มูลค่า 1,420,234 8,400 = 11,930,000,000 USD หรือประมาณ 12 billion USD 

จะเห็นได้ว่าการทำ 51% attack ใน Bitcoin นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะนอกจากเงิน 12 Billion USD ที่หามาซื้อ Asic แล้วเขาต้องมีพื้นที่สำหรับวาง Asic กว่า 1 ล้านเครื่อง และอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นไปไม่ได้คือไม่สามารถหา Asic 1 ล้านเครื่องได้ หากจะเป็นไปได้ต้องเป็นระดับประเทศเท่านั้นและต้องเป็นประเทศขนาดใหญ่ด้วย ซึ่งเมื่อรวมต้นทุนทั้งหมดในการทำ 51% attack จะเยอะกว่า 12 Billion USD แน่นอน ในตอนสุดท้ายถ้าทำ 51% attack สำเร็จ Asic จำนวนมากนั้นจะมีมูลค่าตำ่ลงมากและไม่สามารถขายเป็นทุนคืนได้แน่นอน 

แต่นอกเหนือจาก Bitcoin สำหรับ Altcoin ตัวอื่นๆ ก็มีโอกาสโดน 51% attack ได้เหมือนกันและในอดีตก็เคยมี Altcoin โดน 51% attack มาแล้วถึง 3 ตัว เช่น Bitcoin gold (BTG), Ethereum classic (ETC), Verge (XVG)

51% attack History

Bitcoin Gold (BTG) โดน 51% attack ในปี 2018 โดยใช้วิธีการ Double Spending วิธีการจะแยกออกเป็นสองเส้นทางคือ BTG Blockchain กับ Private Blockchain ซึ่งใน BTG Blockchain Hacker ได้โอน BTG เข้า Exchange หลังนั้น Hacker ได้เปลี่ยน BTG เป็นเหรียญอื่นแล้วโอนออกจาก Exchange ทันที

ใน Private Blockchain Hacker ได้ปลอม Txn (ถ้าในตัวอย่างข้างบนเป็นการขุดบล็อกเปล่า) ด้วยการโอน BTG ไปที่ wallet อื่นของตัวเอง หลังจากที่ทำการเปลี่ยนเป็นเหรียญอื่นเสร็จแล้วบนเชนหลัก  Hacker ก็บอกสิ่งที่เกิดขึ้นใน Private Blockchain และทำให้ Txn BTG ที่โอนเข้า Exchange ไม่เกิดขึ้น แต่ Hacker ได้เหรียญอื่นที่ถอนออกมาจาก Exchange แล้ว ซึ่งมูลค่าความเสียหายรวมสูงสุดถึง 18 Million USD

Ethereum Classic (ETC) โดน 51% Attack มากถึง 15 ครั้ง แต่ยกตัวอย่างที่ยกมาเกิดขึ้นใน Coinbase ใน วันที่ 7 มกราคม 2019 Hacker ได้เปลี่ยน Txn ไป 15 Block มีการทำ Double Spending ถึง 12 ครั้ง และมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 219,500 ETC ประมาณ 1.1 Million USD 

Verge (XVG) โดน 51% Attack ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 Hacker ได้เปลี่ยน Transaction ของ 200 วันที่มีปริมาณ Transaction มากกว่า 560,000 Transaction ด้วยบล็อกเปล่า ทำให้มูลค่าของ Verge ลดลงไปถึง 15% และหลุดออกจาก Top 100 เหรียญที่มีมูลค่าเยอะที่สุดในโลกไป แต่ 2 วันต่อมาทาง Verge ได้ออกมาประกาศว่า XVG Blockchain ได้มีแรงขุดเยอะกว่า Blockchain ที่ใช้โจมตีแล้วและทำให้ทุกอย่างกลับมาเป็นเหมือนเดิม

สรุป

เทคโนโลยี Blockchain ที่มีความปลอดภัยสูงจนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางก็ยังมีจุดอ่อนที่สามารถโจมตีได้อยู่ นั่นคือการทำ 51% Attack หรือก็คือการที่มีนักขุดควบคุมกำลังขุดมากกว่า 50% ของระบบ ซึ่งการทำ 51 % สามารถทำได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Double Spending หรือ Wallet Ban อย่างไรก็ตามการทำ 51% Attack มีโอกาสเกิดขึ้นจริงน้อยมากใน Bitcoin มี Hashrate ที่มากพอทำให้ต้นทุนการทำ 51% attack นั้นสูงมากจนไม่คุ้มกับการโจมตี แต่มี Altcoin ตัวอื่นๆ โดน 51% อย่างเช่น Bitcoin Gold, Ethereum Classic, Verge

Source:
51 % attack คืออะไร ส่งผลต่อบล็อกเชนมากแค่ไหน ?
51% Attack หรือ Majority Attack จะเกิดขึ้นเมื่อมีคนใดคนหนึ่งในระบบมีกำลังในการประมวณผลธุรกรรม (Hash Power) ที่มากจากผู้ยืนยันธุรกรรม (Node) มากกว่า 50% ของทั้งหมด ซึ่งแต่ละ Blockchain จะมีรูปแบบของของผู้ยืนยันธุรกรรมแตกต่างกันไป
Coin หรือคริปโทเคอเรนซี่

สินทรัพย์ดิจิทัลถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คริปโทเคอเรนซี่ (Coin) และ โทเค็นดิจิทัล (Token) ซึ่งในส่วนของคำว่า คริปโทเคอเรนซี่หรือ Coin ในนิยามของสากลนั้นมีความหมายว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้ในการเก็บมูลค่าและเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ โดย Coin จะอยู่บนบล็อกเชนของตัวเอง อย่างเช่น Bitcoin (BTC) หรือ Ethereum (ETH) เป็นต้น ซึ่งคริปโทเคอเรนซี่ (Coin) จะมีความหมายตรงข้ามกับโทเค็นดิจิทัล เพราะว่าไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีฟังก์ชันการใช้งานพิเศษ เช่น การใช้โหวตบนแพลตฟอร์ม แต่อย่างใด 

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยที่มี พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ เป็นกฎหมายที่ใช้ในการการควบคุมดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภายใต้ พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ นั้นได้ให้นิยามของคริปโทเคอร์เรนซี่ (Coin) ที่ต่างจากนิยามสากลเล็กน้อยว่าเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกข้อมูลธุรกรรมบนบล็อกเชน สามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ เช่น การนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นๆ เป็นต้น ตัวอย่างของคริปโทเคอร์เรนซี่ตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ได้แก่ Bitcoin, Ethereum รวมถึงคริปโทเคอร์เรนซี่ที่มีการตรึงมูลค่า (Peg) ไว้กับสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง เช่น ทองคำหรือสกุลเงินต่างๆ ที่เรียกว่า “Stablecoin” เป็นต้น

ดังนั้นโดยนิยามของ คริปโทเคอเรนซี่ (Coin) ไม่ว่าจะเป็นนิยามของทั้งสากลหรือภายใต้พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ จะมีลักษณะคล้ายกับสกุลเงินต่างๆที่เรารู้จักกันดี ปัจจุบันคริปโทเคอร์เรนซียังไม่ใช่เงินที่ธนาคารกลางใดในโลกรับรองว่าสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (ยกเว้นประเทศเอลซัลวาดอร์ที่ให้ใช้บิตคอยน์ชำระหนี้ตามกฎหมายได้)

Source:
Coin หรือคริปโทเคอเรนซี่
สินทรัพย์ดิจิทัลถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คริปโทเคอเรนซี่ (Coin) และ โทเค็นดิจิทัล (Token) ซึ่งในส่วนของคำว่า คริปโทเคอเรนซี่หรือ Coin ในนิยามของสากลนั้นมีความหมายว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้ในการเก็บมูลค่าและเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ โดย Coin จะอยู่บนบล็อกเชนของตัวเอง อย่างเช่น Bitcoin (BTC) หรือ Ethereum...
Airdrop
ขอบคุณภาพจาก Cryptomind Advisory

ในโลกของบล็อกเชนและคริปโทเคอเรนซี่ คำว่า “Airdrop” หมายถึงการแจกจ่ายสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับผู้ใช้งานที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมต่อโปรเจกต์นั้นๆ (อาจแจกเป็นเหรียญ หรือพักหลังๆก็เริ่มมีแจกเป็น NFT มากขึ้น) โดยการมีส่วนร่วมที่เข้าข่ายการแจก Airdrop นั้นก็มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปในแต่ละโปรเจกต์ ไม่ว่าจะเป็นการถือเหรียญที่ทางโปรเจกต์กำหนดไว้ในกระเป๋าเงิน, การเข้าไปใช้งานบนแพลตฟอร์มในช่วงเริ่มต้น หรือจะเป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาแพลตฟอร์มโดยตรง เป็นต้น นอกจากนี้ทางโปรเจกต์อาจจะมีการกำหนดปริมาณการแจกจ่าย Airdrop ตามจำนวนและความถี่ในการใช้งานด้วยก็ได้ (ซึ่งทางบล็อกเชนอาจจะเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยหลักเกณฑ์เหล่านี้ก็ได้) 

ซึ่งผู้ที่มีสิทธิรับ Airdrop จะต้องทำกิจกรรมที่ทางโปรเจกต์กำหนดก่อนเวลา Snapshot โดยจะเห็นได้ว่า Airdrop นั้นถือเป็นวิธีหนึ่งในการแจกจ่ายหรือกระจายเหรียญสู่สาธารณะ ที่แตกต่างจากการจัดสรรผ่านการขาย ICO เพราะว่าในกรณีของ Airdrop จะไม่ได้ถูกซื้อขายแต่ว่าจะถูกแจกให้ฟรีนั่นเอง

ยกตัวอย่างการแจก Airdrop ที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวางและมีหลายโปรเจกต์ทำตามก็คือ Uniswap ที่ได้ Airdrop เหรียญ UNI ซึ่งเป็น Governance Token ของแพลตฟอร์มให้กับผู้ที่เคยเข้าไปใช้งานก่อนวันที่ 1 กันยายน 2020 จำนวน 400 UNI ซึ่งราคา UNI ในช่วงเปิดตัวนั้นอยู่ที่ประมาณ $5 ซึ่งเป็นมูลค่ารวมแล้วกว่า 60,000 บาทและถ้าหากขายที่จุดสูงสุดได้ที่ $45 ก็จะกลายเป็น Airdrop ที่มูลค่าสูงถึงเกือบ 600,000 บาทเลยทีเดียว

ขอบคุณภาพจาก Opensea

หรืออีกตัวอย่างการแจก Airdrop เป็น NFT เช่น NFT Collection ที่ชื่อ CLONE X – X TAKASHI MURAKAMI ของ RTFKT Studio ก็ได้มีการ Airdrop ชิ้นงาน NFT จำนวนหลายชิ้นที่เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ในอนาคตให้กับผู้ที่ถือ NFT ซึ่งภายหลังมี Nike มาเกี่ยวข้องด้วย จนทำให้ NFT ที่ Airdrop มาทั้งหมดนั้นเคยมีมูลค่ารวมกันเป็นหลักล้านบาทเลยทีเดียว หรือจะเป็นการ Airdrop เหรียญ APE และที่ดินดิจิทัลของโปรเจกต์ Otherside ให้ผู้ถือ Bored Ape Yacht Club ซึ่งมูลค่ารวมก็หลายล้านบาทเช่นเดียวกัน

โดยจะเห็นว่าการแจก Airdrop ที่ยกตัวอย่างจะเป็นการใช้งานที่ต้องใช้เงินจริงในการใช้งานรวมถึงค่าธรรมเนียมเพื่อที่จะเข้าข่ายการรับ Airdrop อย่างไรก็ตาม สำหรับบางโปรเจกต์นั้นอาจมีการแจก Airdrop สำหรับผู้ที่มาใช้งานบนบล็อกเชนในระบบทดสอบ (Testnet) ทำให้การมีส่วนร่วมนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เงินจริงๆด้วยซ้ำ ผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมสามารถใช้เหรียญที่ทางโปรเจกต์มอบให้ฟรีๆเพื่อใช้ในการมีส่วนร่วมกับบล็อกเชนนั้นๆได้ ยกตัวอย่างเช่น การแจก Airdrop ของโปรเจกต์ Aptos ที่เพียงแค่ผู้ใช้งานทดลอง Mint NFT บน Testnet ก็เข้าข่ายได้รับแจก Airdrop เหรียญ APT มูลค่าสูงสุดกว่า 3 แสนบาท

Airdrop จัดเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่โปรเจกต์ภายในโลกบล็อกเชนและคริปโทเคอเรนซี่นิยมใช้กันอย่างมากเพื่อกระตุ้นให้มีคนเข้ามาใช้งาน โดยเป็นการสร้างแรงจูงใจหลักคือการได้รับเหรียญที่จะแจกจ่ายให้เมื่อมีการใช้งานถึงเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ยังเป็นเพิ่มการรับรู้ของโปรเจกต์ในวงกว้างมากขึ้นได้ 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Airdrop ได้ที่: Airdrop เงินฟรีในโลกคริปโทที่อาจไม่ง่ายอีกต่อไป Cryptomind Group

Source:
Airdrop
หมายถึงการแจกจ่ายสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับผู้ใช้งานที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมต่อโปรเจกต์นั้นๆ (อาจแจกเป็นเหรียญ หรือพักหลังๆก็เริ่มมีแจกเป็น NFT มากขึ้น) ...
Atomic Swap

Atomic Swap คือหนึ่งในเทคโนโลยีบน Smart contracts ที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนคริปโทเคอเรรนซี่ต่างๆได้โดยไม่ต้องใช้การพึ่งพาตัวกลางหรือบุคคลที่ตามอื่นๆ ซึ่งเป็นการซื้อขายจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งแบบโดยตรงหรือเรียกว่า Peer-to-peer นั่นเอง และยังสามารถแลกเปลี่ยนคริปโทฯที่อยู่ต่างบล็อกเชนก็ทำได้เช่นกัน โดยแนวคิดของ Atomic swap ถูกเสนอครั้งแรกในปี 2013 โดยบุคคลที่ชื่อว่า Tier Nolan เนื่องมาจากข้อจำกัดจากการซื้อขายแบบดั้งเดิม เช่น AMM DEX จะมีข้อจำกัดจากจำนวนคู่เทรดที่มีจำกัด เป็นต้น

ข้อดีของการใช้ Atomic swap คือความปลอดภัย เนื่องจากผู้ใช้ไม่ต้องให้ Private key ของตนเองเลย ส่วนอีกข้อดีที่ถูกยอมรับคือเนื่องมาจากว่าไม่จำเป็นต้องมีตลาดกลาง จึงส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่ามาก (ไม่มีค่าฝากเงิน ถอนเงิน หรือค่าธรรมเนียมการซื้อขาย) อีกทั้ง Atomic swaps ยังสามารถช่วยต่อต้านการโกงจากการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Hash Timelock Contracts (HTLC) และฟังก์ชันแฮช สัญญาอัจฉริยะ HTLC รับรองว่าการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นทั้งหมดหรือไม่เกิดขึ้นเลย ซึ่งการทำงานของ HTLC คือผู้ซื้อและผู้ขายทั้งสองฝ่ายจะต้องทำการตกลงการซื้อขายหรือว่าจะยกเลิกก็ได้ แต่ว่าต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น Atomic swap จะเสร็จสมบูรณ์เฉพาะในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายยืนยันความถูกต้องผ่าน HTLC เท่านั้น

Atomic swap แบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ 

  • On-chain swap เพื่อแลกเปลี่ยนคริปโทฯสองสกุลบนบล็อกเชนที่ต่างกัน
  • Off-chain swap บน Layer 2 (ไม่ใช้บนบล็อกเชนหลัก) อย่างเช่น บน Bitcoin Lightning Network 

กระบวนการ Atomic swap

ยกตัวอย่างการแลกเปลี่ยนโดย Atomic swap เช่น สมมุติว่า Sam มีบิตคอยน์ 5 หน่วยแต่ต้องการแลกเปลี่ยนกับ BNB และ Do Kwon ที่มี BNB พร้อมที่จะทำการแลกเปลี่ยน โดยใช้เทคโนโลยี Atomic swap พวกเขาสามารถทำการซื้อขายแบบ Peer-to-peer ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลที่สาม นั่นหมายความว่าสองสกุลเงินที่แตกต่างกันและทำงานอยู่บนบล็อกเชนที่แยกกันสามารถซื้อขายกันได้โดยตรง

กระบวนการที่เกิดขึ้นคือ

  1. Sam ส่งคำสั่งเหรียญ Bitcoin บน Bitcoin blockchain
  2. Do Kwon ส่งคำสั่งเหรียญ BNB บน BNB Chain
  3. Sam เคลมเหรียญ BNB ของ Do Kwon และเปิดเผย Secret number (X) บน BNB Chain
  4. Do Kwon จะเห็น Secret number (X) บน BNB Chain และนำไปใช้ในการเคลมเหรียญ Bitcoin บน Bitcoin Blockchain

อย่างไรก็ตาม Atomic swaps ยังช้า ใช้งานได้ยากสำหรับคนทั่วไป และมี Wallet รองรับน้อย จึงยังเข้าถึงคนหมู่มากไม่ได้ในเวลานี้ นอกจากนี้ แนวคิดของ Atomic swaps ยังมาพร้อมกับข้อจำกัดต่างๆ อีกด้วย เช่น ความรู้พื้นฐานในการเขียนโค้ดของผู้ใช้ก็เป็นสิ่งที่ต้องมี

Source:
Atomic Swap
Atomic Swap คือหนึ่งในเทคโนโลยีบน Smart contracts ที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนคริปโทเคอเรรนซี่ต่างๆได้โดยไม่ต้องใช้การพึ่งพาตัวกลางหรือบุคคลที่ตามอื่นๆ ซึ่งเป็นการซื้อขายจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งแบบโดยตรงหรือเรียกว่า Peer-to-peer นั่นเอง และยังสามารถแลกเปลี่ยนคริปโทฯที่อยู่ต่างบล็อกเชนก็ทำได้เช่นกัน โดยแนวคิดของ Atomic swap ถูกเสนอครั้งแรกในปี 2013 โดยบุคคลที่ชื่อว่า Tier Nolan เนื่องมาจากข้อจำกัดจากการซื้อขายแบบดั้งเดิม เช่น...
Byzantine Fault Tolerance

ตั้งแต่ Bitcoin ได้ถูกสร้างขึ้นมาโลกของ Cryptocurrency ได้เติบโตตามอย่างก้าวกระโดด ได้เกิด Cryptocurrency ตัวใหม่ๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมามากมายแต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือระบบพื้นฐานอย่าง Blockchain ซึ่ง Blockchain ถูกสร้างขึ้นมาด้วยแนวคิดแบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะกระจายข้อมูลให้ทุก Node ในระบบเก็บเอาไว้และให้ Node ทุกเครื่องเป็นตัวยืนยันการทำธุรกรรมบน Blockchain ซึ่งการที่ Node ยืนยันธุรกรรมเราจะเรียกว่า Consensus Machanism 

ในโลกของ Blockchain นั้น Node ทุกเครื่องสามารถเข้าและออกจากระบบได้อิสระ ยกตัวอย่างจาก Bitcoin ที่เราสามารถเอา Graphic card (GPU) มาขุดได้ และการเข้าออกได้อิสระนี้เองได้เปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่คิดจะโจมตีระบบเข้ามาโจมตีระบบด้านผ่านทาง Node หรือที่เรารู้จักกันคือ 51 % attack ซึ่งได้เกิดคำถามขึ้นมาว่า Node จะยืนยันธุรกรรมให้สำเร็จได้อย่างไรหากมี Node บางเครื่องไม่ซื่อสัตย์หรือต้องการจะโจมตีระบบ ซึ่งคำถามสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตหรือก็คือ Byzantine General Problem ซึ่งเป็นคำที่ให้กำเนิด Byzantine Fault Torelance

Byzantine general problem

Byzantine Fault Tolerance Model (BFT) คนที่ติดตามคริปโตอย่างใกล้ชิดอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง จาก Consensus ของแต่ละบล็อกเชน เช่น Proof of Work, Proof of Stake ต่างๆ ล้วนมีรากฐานไอเดียมาจาก Byzantine Fault Tolerance model และเป็นไอเดียที่เกิดขึ้นมาป้องกันปัญหา Byzantine General Problem แล้ว Byzantine General Problem คืออะไร?

ย้อนกลับไปในยุคที่จักรวรรดิ Byzantine กำลังรุ่งเรือง (หลังจากจักรวรรดิโรมันล่มสลาย) ในยุคนั้นการทำสงครามยังถือเป็นเรื่องปกติ ในการโจมตีเมืองๆหนึ่ง หลายๆ กองทัพที่กระจัดกระจายกันอยู่ต้องตกลงที่จะโจมตีพร้อมกันเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งการโจมตีพร้อมกันจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการคุยกันระหว่างกองทัพ 

ในตอนนั้นก็ได้มีม้าเร็วคอยส่งข่าวให้แต่ละกองทัพว่าจะโจมตีพร้อมกันในเวลากี่โมง ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่ปัญหามันเกิดที่ม้าเร็วนี้แหละ ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ว่าม้าเร็วจะส่งข่าวถึงกองทัพทุกกองทัพจริงไหม ม้าเร็วอาจจะเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตระหว่างทาง ถึงแม้ว่าม้าเร็วสามารถส่งข่าวให้ได้ทุกกองทัพ ในตอนสุดท้ายการตัดสินใจของแต่ละกองทัพก็เป็นปัญหาเช่นกัน กรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ มีกองทัพใดกองทัพหนึ่งหักหลังไม่ยอมโจมตี ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาอาจจะเป็นการเสียกำลังคนไปแบบเปล่าประโยชน์และตีเมืองไม่แตก  ถ้าเปลี่ยนสถานการณ์นี้เป็นคำถามเหมือนข้างบนคือ กองทัพแต่ละกองทัพจะตีเมืองให้แตกได้อย่างไรเมื่อมีกองทัพบางกองทัพไม่โจมตี

แล้วมันเกี่ยวข้องยังไงกับบล็อกเชนล่ะ ซึ่งบล็อกเชนจะเหมือนกัน Byzantine General Problem ในสถานการที่ Node ทุกเครื่องโหวตที่จะยืนยันธุรกรรมหรือสร้าง Block ซึ่ง Node เปรียบเหมือนกองทัพที่กระจัดกระจายกันอยู่ และการยืนยันธุรกรรมคือการโจมตีเมือง รวมไปถึงการตัดสินใจของ Node ที่มีการยืนยันกับไม่ยืนยันเหมือนการตัดสินใจของการโจมตีของแต่ละกองทัพ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ใน Blockchain ข้อมูลที่ถูกส่งข้ามกันระหว่าง Node จะส่งถึงแน่นอนซึ่งจะไม่มีปัญหาม้าเร็วแบบ Byzantine General Problem

หากเป็นใน Byzantine General Problem การตีของกองทัพใดกองทัพหนึ่งอาจทำให้เมืองนั้นไม่แตกได้ แต่ใน Blockchain ได้แก้ไขปัญหานั้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง Blockchain Consensus Machanism ได้เขียนไว้ว่า “ในการที่จะยืนยันธุรกรรมได้นั้นต้องได้รับเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของ Node ทั้งหมด”  ทำให้ยังสามารถยืนยันธุรกรรมได้แม้ว่าจะมี node บางเครื่องไม่ยอมยืนยันธุรกรรมและสิ่งนี้คือสิ่งที่ป้องกัน Byzantine General Problem ได้หรือก็คือ Byzantine Fault Torelance

โดยสรุป Byzantine Fault Tolerance คือการที่ระบบทนต่อ Byzantine General Problem ได้ หรือการที่ระบบยังสามารถทำงานต่อไปได้ตามปกติหากมี Node บางเครื่องไม่ยอมยืนยันธุรกรรมหรือไม่ซื่อสัตย์ 

Source:
Byzantine Fault Tolerance
ตั้งแต่ Bitcoin ได้ถูกสร้างขึ้นมาโลกของ Cryptocurrency ได้เติบโตตามอย่างก้าวกระโดด ได้เกิด Cryptocurrency ตัวใหม่ๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมามากมายแต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือระบบพื้นฐานอย่าง Blockchain ซึ่ง Blockchain ถูกสร้างขึ้นมาด้วยแนวคิดแบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะกระจายข้อมูลให้ทุก Node ในระบบเก็บเอาไว้และให้ Node ทุกเครื่องเป็นตัวยืนยันการทำธุรกรรมบน Blockchain...
Arbitrage

การ Arbitrage คือกระบวนการซื้อสินทรัพย์ชนิดเดียวกันในตลาดที่ต่างกันเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาของแต่ละตลาด ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนซื้อเหรียญ USDT บน UniSwap ที่เกิดมีราคาต่ำกว่า Peg ชั่วคราวอยู่ที่ 0.98 ดอลลาร์ เพื่อนำไปขายที่ SushiSwap ที่ราคาตาม Peg ปกติอยู่ที่ $1 ทำให้นักลงทุนสามารถทำกำไรส่วนต่างได้ทันที 2% เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ Arbitrage เกิดขึ้น เนื่องมาจากการที่ว่าตลาดไม่มีประสิทธิภาพ (Inefficient Market) ที่ส่งผลทำให้ราคาสินทรัพย์มีราคาซื้อขายที่แตกต่างกันในสถานที่และตลาดที่ต่างกัน เพราะถ้าตลาดมีประสิทธภาพอย่างมากจะไม่มีโอกาสการทำ Arbitrage ได้เลยเพราะว่าสินทรัพย์ในแต่ละตลาดจะมีราคาเดียวกันทั้งหมด

ซึ่งข้อดีของการ Arbitrage ก็คือเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ช่วยทำให้ราคาของสินทรัพย์ระหว่างตลาดมีราคากลับสู่ราคาที่เท่ากันได้ นอกจากนี้ยังเป็นอีกช่องทางในการสร้างกำไรให้กับนักลงทุนแบบไม่ยากด้วยความเสี่ยงต่ำ อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้มีการใช้งาน Bot ในการทำ Arbitrage ที่แพร่หลายมากขึ้น ทำให้โอกาสในการทำกำไรอาจมีความยกมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งโดยทั่วไป สำหรับตลาดคริปโทเคอเรนซี่ การทำ Arbitrage บนบล็อกเชนจะมีความยากกว่า เพราะว่าจะมีข้อจำกัดในเรื่องของความเร็วในการทำธุรกรรมที่บางครั้งอาจจะต้องมีการจ่ายค่าแก๊สในปริมาณสูงเพื่อที่จะช่วยเร่งธุรกรรมของเราให้แซงหน้าคนอื่น ซึ่งมักทำให้คนทั่วไปเสียเปรียบ Bot ได้ ดังนั้นกลยุทธ์ที่ดีกว่าในการ Arbitrage สำหรับนักลงทุนทั่วไปคือการ Arbitrage ระหว่าง Centralized Exchanges (CEXs) เพราะทำให้สามารถทำการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วมากกว่าซื้อขายบนบล็อกเชน โดยคำแนะนำสำหรับนักลงทุนที่สนใจคือควรสร้างบัญชีไว้บนหลายๆ CEXs และเติมเงินไว้จำนวนพอสมควรเพื่อให้สามารถซื้อขายได้ทันทีโดยไม่ต้องพึ่งพาการยืนยันการฝากและถอน (ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณสามสิบนาทีหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับ Traffic ของแต่ละเครือข่าย)

อันที่จริงแล้ว กลยุทธ์การทำ Arbitrage นั้นมีมากกว่าในรูปแบบที่อธิบายไปข้างต้นซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่า Traditional Arbitrage (หรือการ Arbitrage แบบดั้งเดิม) ที่เป็นที่นิยมสูงสุดและถ้านักลงทุนได้ยินเกี่ยวกับ Arbitrage ในคริปโทฯก็มักจะหมายถึง Traditional Arbitrage โดยตอนนี้การ Arbitrage ได้แตกแขนงออกไปจนมีอย่างน้อยสิบรูปแบบที่แตกต่างกัน อย่างเช่น Merger Arbitrage แต่ว่าเป็นที่นิยมน้อยกว่าในโลกของบล็อกเชนและคริปโทเคอเรนซี่

Source:
Arbitrage
การ Arbitrage คือกระบวนการซื้อสินทรัพย์ชนิดเดียวกันในตลาดที่ต่างกันเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาของแต่ละตลาด ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนซื้อเหรียญ USDT บน UniSwap ที่เกิดมีราคาต่ำกว่า Peg ชั่วคราวอยู่ที่ 0.98 ดอลลาร์ เพื่อนำไปขายที่ SushiSwap ที่ราคาตาม Peg ปกติอยู่ที่ $1 ทำให้นักลงทุนสามารถทำกำไรส่วนต่างได้ทันที...
Maximum Supply (Max Supply)

“Maximum supply” หรือปริมาณสุทธิของโทเคนหรือเหรียญที่จะมีได้ในระบบ แปลว่าถ้าเหรียญนั้นๆ ได้ถูกผลิตมาจนถึง maximum supply แล้วจะไม่มีเหรียญที่ถูกสร้างหรือผลิตออกมาเพิ่มได้อีก ตัว maximum supply นั้นจะรวมถึงเหรียญทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นมา (minted) – ทั้งที่ถูกล็อกไว้และถูกปลดออกมาแล้ว – และเหรียญที่ถูกทำลายทิ้ง (burned) ไปแล้วด้วยเช่นกัน

สำหรับแต่ละเหรียญนั้น maximum supply อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบและการสร้างมูลค่าของเหรียญ ยกตัวอย่างเช่น Bitcoin ที่จะมีปริมาณสุทธิอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญและจะไม่สามารถมีมากกว่านั้นได้ ตรงกันข้ามกับเหรียญอย่าง Ethereum ที่ไม่ได้กำหนด maximum supply ก็จะมีจำนวนเหรียญได้อย่างไม่จำกัด และ supply ของเหรียญจะดูได้จาก total supply แทนนั่นเอง

Maximum supply สามารถใช้คำนวณมูลค่าตลาดโดยรวมของเหรียญ (Fully Diluted Market Cap หรือ FDMC) ที่บ่อยครั้งถูกนำมาคาดการณ์ราคาของเหรียญในอนาคตได้ ซึ่งการคำนวณจะทำได้ผ่านสมการ

FDMC = Max Supply x มูลค่าปัจจุบันของเหรียญ

Max supply vs Total supply vs Circulating supply

Circulating supply นั้นจะนับเฉพาะเหรียญที่ปลดล็อก หมุนเวียนและเปิดให้ซื้อขายอย่างสาธารณะซึ่งจะถูกนำมาคำนวณหามูลค่าตลาด (Market cap)ปัจจุบันของเหรียญนั้นๆ ในขณะที่ total supply นั้นจะนับรวม circulating supply รวมถึงเหรียญที่ถูกสร้างออกมาแล้วแต่ยังถูกล็อกอยู่ ส่วน max supply นั้นจะนับรวมเหรียญทั้งหมดที่ถูกล็อก ที่ปลดล็อกมาแล้ว และที่ถูกทำลายไปแล้ว

*ในกรณีที่ max supply นั้นไม่ได้ถูกกำหนดไว้ การคำนวณหา Fully diluted market cap จะใช้ total supply แทน max supply

Source:
Maximum Supply (Max Supply)
“Maximum supply” หรือปริมาณสุทธิของโทเคนหรือเหรียญที่จะมีได้ในระบบ แปลว่าถ้าเหรียญนั้นๆ ได้ถูกผลิตมาจนถึง maximum supply แล้วจะไม่มีเหรียญที่ถูกสร้างหรือผลิตออกมาเพิ่มได้อีก ตัว maximum supply นั้นจะรวมถึงเหรียญทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นมา (minted) – ทั้งที่ถูกล็อกไว้และถูกปลดออกมาแล้ว – และเหรียญที่ถูกทำลายทิ้ง (burned) ไปแล้วด้วยเช่นกัน สำหรับแต่ละเหรียญนั้น...
Angel Investor

Angel Investor หรือนางฟ้าของเหล่า Startup ตามปกติในการเริ่มต้นทำ Startup เหล่าผู้ที่มีไอเดียใหม่ๆ ที่ต้องการเงินทุนจะต้องนึกถึง Venture Capital (VC) แต่ถ้าบริษัท Startup ของเรายังไม่ได้ใหญ่โตขนาดนั้น หรือยังไม่ได้มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันมากพอที่จะยื่นขอทุน Startup ส่วนมากจะขอเงินทุนจากแหล่งที่เข้าถึงง่ายก่อนเช่น ผู้คนที่สนใจในไอเดียของเราอาจะมาในรูปแบบของ คนที่สนใจไอเดียเรา พ่อแม่ ญาติ หรือเพื่อนๆ ต่างๆ ที่เข้ามาถือว่าเป็น Angel Investor

ในการเข้ามาลงทุนของ Angel Investor พวกเขาต้องคิดถึงความเสี่ยงที่พวกเขาต้องเจอเช่นกัน ซึ่งการป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้นมาพร้อมกับสัญญาหรือข้อเสนอที่ Angel Investor มอบให้แก่ Startup อย่างเช่น การให้กู้เงิน การเอาความเป็นเจ้าของของบริษัทหรือหุ้น หรือการเอาส่วนแบ่งจากรายได้เลย นอกจากนี้นักลงทุน Angel Investor บางคนเสนอจึงตัวเข้ามาเป็นผู้ให้คำปรึกษาของเหล่า Startup เพื่อให้กลยุทธที่เขามีเข้าไปช่วยกิจการและให้ผลตอบแทนกลับคืนมาหาเขาให้เร็วที่ที่สุด

ในโลกของคริปโตเคอเรนซี่ นักลงทุน Angel Investor มักจะลงทุนในรอบที่เปิดเป็นการซื้อขายส่วนตัว อย่างเช่น Seed round, Series A, Series B หรือก่อน Initial Coin Offering หรือ ICO นั่นเอง

จากข้อมูลพบว่า Start up มากกว่า 90% ของทั้งโลกไม่ประสบความสำเร็จ แล้วทำไม Angel Investor ถึงกล้าลงทุนใน startup ที่มีโอกาสสำเร็จเพียงแค่ 1 ใน 10 ล่ะ เพราะ Risk/Reward มันคุ้มที่จะเสี่ยง หาก Startup เหล่านี้ประสบความสำเร็จขึ้นมาผลตอบแทนที่ได้มันมากยิ่งกว่าความเสี่ยงที่เงินจะหายทั้งหมดมากๆ ยกตัวอย่างเช่น Angel Investor ที่หลายๆ คนรู้จักกันดี Mark Cuban ได้ลงทุนใน Series A ของ Opensea เว็บซื้อขาย NFT ที่ใหญ่ที่สุดบน Ethereum ไปถึง 23 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึงเราจะไม่รู้ผลตอบแทนที่ Mark Cuban ได้จาก Opensea แต่ดูจากการที่ Opensea ประสบความสำเร็จแล้ว ก็น่าจะสะท้อนได้ทั้งหมดแล้ว

Angel Investor เปรียบเสมือนนางฟ้าตัวเล็กๆ ของเหล่า Startup ที่ทำให้ความฝันของพวกเขาไม่ใช่เพียงแค่ความฝัน แต่เป็นการให้โอกาสพวกเขาในการวิ่งไล่ตามความฝันนั้น

Source:
Angel Investor
Angel Investor หรือนางฟ้าของเหล่า Startup ตามปกติในการเริ่มต้นทำ Startup เหล่าผู้ที่มีไอเดียใหม่ๆ ที่ต้องการเงินทุนจะต้องนึกถึง Venture Capital (VC) แต่ถ้าบริษัท Startup ของเรายังไม่ได้ใหญ่โตขนาดนั้น หรือยังไม่ได้มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันมากพอที่จะยื่นขอทุน Startup ส่วนมากจะขอเงินทุนจากแหล่งที่เข้าถึงง่ายก่อนเช่น ผู้คนที่สนใจในไอเดียของเราอาจะมาในรูปแบบของ คนที่สนใจไอเดียเรา พ่อแม่...
ALTCOIN

คำว่า “Altcoin” ใช้เพื่ออธิบายสินทรัพย์ดิจิทัลทางเลือกที่ไม่ใช่ Bitcoin ซึ่งที่มาของคำว่า Altcoin ถือกำเนิดขึ้นมาเนื่องมาจากว่า Bitcoin ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลตัวแรกของโลก ดังนั้นเหรียญหรือโทเคนดิจิทัลอื่นๆจึงถือว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลทางเลือก หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า “Alternative coins” ซึ่งเรียกสั้นๆได้ว่า Altcoin นั่นเอง

โดย Altcoin ตัวแรกที่ได้ถือกำเนิดขึ้นมามีชื่อว่า “Namecoin (NMC)” ที่ถูก Fork มาจาก Bitcoin ในช่วงเดือนเมษายน 2011 หรือเป็นเวลา 3 ปีหลังจากที่ Bitcoin กำเนิดขึ้นในปี 2008 และเนื่องมาจากว่า NMC ได้ถูก Fork มาจาก Bitcoin ทำให้มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกันโดยกระบวนการ Consensus Mechanism แบบ Proof of Work เช่นเดียวกับ Bitcoin

ซึ่งนับตั้งแต่การเกิดขึ้นของ Altcoin ตัวแรกมาถึงในปี 2023 นี้ ได้มี Altcoin เกิดขึ้นจำนวนมากกว่า 20,000 Altcoin แล้ว โดยนอกจากเหรียญบล็อคเชนที่ใช้ Consensus Mechanism แบบ Proof of Work ก็มีเหรียญบล็อกเชนที่ใช้ Consensus ประเภทอื่นๆอย่างเช่น Proof of Stake, Delegated Proof of Stake, Proof of Authority เป็นต้น นอกจากเหรียญบล็อกเชนในยุคแรกแล้ว ในยุคต่อมายังมีเหรียญประเภทอื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Governance Token, Meme coin, Stablecoin, Utility token เป็นต้น แต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์ต่างๆกันออกไป

ส่วน Altcoin ที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดก็คือ Ethereum (ETH) ซึ่งได้กำเนิดขึ้นมาในช่วง ICO Boom ในปี 2015 โดยปัจจุบันเหรียญ ETH ครอง Market Cap ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก Bitcoin ที่ Market Cap อยู่ที่ 220,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2023)

Source:
ALTCOIN
มาจากการรวมคำว่า “Alternative” ซึ่งแปลว่าทางเลือก และ “Coin” ที่แปลว่าเหรียญเข้าไว้ด้วยกันเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันเป็นเหรียญอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Bitcoin (บิทคอยน์เป็นเหรียญดิจิทัลหลัก) หลายๆคนเรียกเหรียญกลุ่มนี้ว่า...
Address

คือ เลขที่บัญชี (คล้ายกันกับเลขบัญชีธนาคาร) ที่สามารถเปิดเผยได้ที่เราใช้เป็นที่อยู่ในการจัดเก็บเหรียญดิจิทัลต่างๆ ซึ่งเลขบัญชีนี้อยู่ใน Blockchain ซึ่งการจะทำธุรกรรมต่างๆได้ต้องใช้ Private Key ในการเปิดเพื่อ ถอน-ฝาก เหรียญดิจิทัล

ขอบคุณเพจ Lady Crypto ที่ให้ความร่วมมือด้านเนื้อหาครับ

Source:
Address
คือ เลขที่บัญชี (คล้ายกันกับเลขบัญชีธนาคาร) ที่สามารถเปิดเผยได้ที่เราใช้เป็นที่อยู่ในการจัดเก็บเหรียญดิจิทัลต่างๆ ซึ่งเลขบัญชีนี้อยู่ใน Blockchain ซึ่งการจะทำธุรกรรมต่างๆได้ต้องใช้ Private Key ในการเปิดเพื่อ ถอน-ฝาก เหรียญดิจิทัล
Exchange

Exchange คือตลาดซื้อขายสินทรัพย์สำหรับเครื่องมือทางการเงินอาทิ คริปโทเคอร์เรนซี สินค้าโภคภัณฑ์หรือหุ้น โดยที่ตลาดนี้อาจจะเป็นตลาดที่มีอยู่จริงหรือตลาดดิจิทัลก็ได้ ข้อดีหลักๆของตลาดซื้อขายสินทรัพย์เหล่านี้คือมีสภาพคล่องที่สูง การจัดการดีและปลอดภัย ทำให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย

การจำแนก Exchange นั้นสามารถทำได้ 2 แบบเป็นหลักคือ การจำแนกตามรูปแบบการซื้อขายและประเภทของสินทรัพย์ที่ซื้อขาย

  • ตามรูปแบบการซื้อขาย
    • การซื้อขายแบบทันที (Spot) จะเป็นการชำระเงินทันทีเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ที่เราต้องการซื้อ
    • การซื้อขายเอกสิทธิ์ (Derivative & Option) จะเป็นการซื้อขายอนุพันธ์ สัญญาล่วงหน้าและออปชั่น
  • ตามประเภทของสินค้าที่ซื้อขาย
    • เช่น ตลาดซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี ตลาดหุ้น ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์

ในบริบทของคริปโทเคอร์เรนซีนั้น Exchange จะทำหน้าที่เป็นแพลนฟอร์มที่ให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีต่างๆ รวมถึงการซื้อขายเหรียญด้วยเงินเฟียตหรือ stablecoin อาทิ BTC/USDT, ETH/EUR, OP/BTC เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้ว exchange สำหรับคริปโทเคอร์เรนซีนั้นถูกบริหารงานด้วยบริษัทเอกชน ทำให้มีความรวมศูนย์มาก (Centralize) ซึ่งข้อดีก็คือการบริหารจัดการนั้นทำได้โดยง่าย ใช้งานง่ายและสะดวกรวมถึงมีสภาพคล่องที่สูง ในทางกลับกันความเสี่ยงใหญ่ๆเลยก็คือความปลอดภัย ที่ถ้าบริษัทที่เราฝากเงินนั้นถูกแฮคหรือปิดตัวลงก็จะทำให้เราไม่สามารถถอนเงินออกมาได้นั่นเอง

ตรงกันข้ามกับ exchange ที่ก่อตั้งโดยบริษัทเอกชนที่มีความรวมศูนย์มาก (Centralized exchange or CEX) ในโลกคริปโทเคอร์เรนซีก็จะมีแพลตฟอร์มที่ให้เราซื้อขายเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลางเรียกว่า Decentralized exchange หรือ DEX โดยการซื้อขายบน DEX นั้นจะเป็นการซื้อขายแบบอัติโนมัติผ่านการใช้สัญญาอัจฉริยะ ซึ่งมีความเสี่ยงในการถูกโจมตีน้อยกว่า CEX แต่ในขณะเดียวกันการใช้งานก็จะยากกว่าและมีรายละเอียดเยอะกว่า รวมถึงสภาพคล่องที่น้อยกว่า CEX เนื่องจากมีผู้ใช้งานที่น้อยกว่านั่นเอง

Source:
Exchange
Exchange คือตลาดซื้อขายสินทรัพย์สำหรับเครื่องมือทางการเงินอาทิ คริปโทเคอร์เรนซี สินค้าโภคภัณฑ์หรือหุ้น โดยที่ตลาดนี้อาจจะเป็นตลาดที่มีอยู่จริงหรือตลาดดิจิทัลก็ได้ ข้อดีหลักๆของตลาดซื้อขายสินทรัพย์เหล่านี้คือมีสภาพคล่องที่สูง การจัดการดีและปลอดภัย ทำให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย การจำแนก Exchange นั้นสามารถทำได้ 2 แบบเป็นหลักคือ การจำแนกตามรูปแบบการซื้อขายและประเภทของสินทรัพย์ที่ซื้อขาย ในบริบทของคริปโทเคอร์เรนซีนั้น Exchange จะทำหน้าที่เป็นแพลนฟอร์มที่ให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีต่างๆ รวมถึงการซื้อขายเหรียญด้วยเงินเฟียตหรือ stablecoin อาทิ...
Blockchain

Blockchain คือ ระบบที่จัดเก็บข้อมูลและธุรกรรมที่ทุกคนสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างอิสระ โดยข้อมูลที่อยู่ในระบบเป็นรูปแบบกระจายอำนาจ (Decentralized) ไปยังทุก ๆคน ถือเป็นตัวกลางสำคัญในการบันทึกและเก็บข้อมูลเหรียญดิจิทัลต่างๆไว้ เราสามารถแบ่ง Blockchain ได้เป็น 2 คำ คือคำว่า “Block” ที่หมายถึงบล็อคเก็บข้อมูลเป็นส่วน บวกกันกับ คำว่า “Chain” ที่เป็นเหมือนโซ่ ถูกนำมาร้อยต่อกันโดยการเข้ารหัสด้วย Code ทางคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างความปลอดภัย และเก็บรวมรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบของ Database (ฐานข้อมูล)
.
ทั้งนี้ข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะถูกเก็บบันทึกไว้ภายในบล็อก และถูกส่งต่อกระจายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายที่เรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปแล้วจึงมีความน่าเชื่อถือเพราะทุกคนในเครือข่ายจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ยกตัวอย่าง การทำงานของ Bitcoin (BTC) บิตคอยน์ที่ทำงานอยู่บน Blockchain เราสามารถทำการแลกเปลี่ยนกันได้แบบ Peer-to-Peer ระหว่างตัวผู้จ่ายและผู้รับได้โดยตรง ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลางหรือหน่วยงานใด เนื่องจากว่าทุกคนในเครือข่ายสามารถตรวจสอบจำนวนเหรียญดิจิทัลได้ ว่ามีการโอนไปเท่าไหร่? ใครโอนไปที่ไหน? หรือมีการแก้ไขข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในบล็อคหรือไม่? ทั้งนี้ผู้ใช้งานภายในเครือข่ายสามารถเข้าไปตรวจสอบการทำธุรกรรมของ Address ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ที่เว็ปไซต์ Blockexplorer.com
.
บล็อคเชนได้ถูกนำมาใช้งานในหลายๆ อุตสาหกรรม และไม่ได้จำกัดเพียงแค่การโอนสกุลเงินดิจิทัล Bitcoin (บิตคอนต์) เท่านั้น แต่อุตสาหกรรมการเงินถือเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีบล็อคเชนมาใช้งานเพราะมันช่วยลดขั้นตอนในการทำธุรกรรมและประหยัดต้นทุนไปได้มาก ปัจจุบันบล็อกเชนยังคงถูกพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การทำ Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ), การจดสิทธิบัตร, การทำ E-Voting, การตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ, การทำดิจิทัล ID แทนบัตรประชาชน, เป็นต้น การใช้งานเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนสำหรับการใช้บล็อคเชนในแง่มุมต่าง ๆ และเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจสำหรับการนำมาต่อยอดใช้งานในอนาคตได้

ขอบคุณเพจ Lady Crypto ที่ให้ความร่วมมือด้านเนื้อหาครับ 

Source:
Blockchain
Blockchain คือ ระบบที่จัดเก็บข้อมูลและธุรกรรมที่ทุกคนสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างอิสระ โดยข้อมูลที่อยู่ในระบบเป็นรูปแบบกระจายอำนาจ (Decentralized) ไปยังทุก ๆคน ถือเป็นตัวกลางสำคัญในการบันทึกและเก็บข้อมูลเหรียญดิจิทัลต่างๆไว้ เราสามารถแบ่ง Blockchain ได้เป็น 2 คำ คือคำว่า “Block” ที่หมายถึงบล็อคเก็บข้อมูลเป็นส่วน บวกกันกับ คำว่า “Chain” ที่เป็นเหมือนโซ่...
A
B
C
E
Exchange
Exchange คือตลาดซื้อขายสินทรัพย์สำหรับเครื่องมือทางการเงินอาทิ คริปโทเคอร์เรนซี สินค้าโภคภัณฑ์หรือหุ้น โดยที่ตลาดนี้อาจจะเป็นตลาดที่มีอยู่จริงหรือตลาดดิจิทัลก็ได้ ข้อดีหลักๆของตลาดซื้อขายสินทรัพย์เหล่านี้คือมีสภาพคล่องที่สูง การจัดการดีและปลอดภัย ทำให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย การจำแนก Exchange นั้นสามารถทำได้ 2 แบบเป็นหลักคือ การจำแนกตามรูปแบบการซื้อขายและประเภทของสินทรัพย์ที่ซื้อขาย ในบริบทของคริปโทเคอร์เรนซีนั้น Exchange จะทำหน้าที่เป็นแพลนฟอร์มที่ให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีต่างๆ รวมถึงการซื้อขายเหรียญด้วยเงินเฟียตหรือ stablecoin อาทิ...
G
No items found.
H
No items found.
I
No items found.
J
No items found.
K
No items found.
N
No items found.
O
No items found.
P
No items found.
Q
No items found.
R
No items found.
T
U
No items found.
V
No items found.
X
No items found.
Y
No items found.
Z
No items found.