*ข้อมูลระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2024 – 15 มีนาคม 2024
Bitcoin ETF Flow ของเดือนกุมภาพันธ์ การแข็งค่าของราคา BTC สะท้อนถึงการไหลเข้าที่แข็งแกร่งของ ETFs ใหม่ที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ และการคาดการณ์การ Halving Bitcoin ลงครึ่งหนึ่งในเดือนเมษายน
ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลให้ผลตอบแทนที่มั่นคงในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 โดยได้รับแรงหนุนจากการไหลเข้าอย่างต่อเนื่องของ Bitcoin ETFs และการพัฒนาพื้นฐานเชิงบวกหลายอย่าง ดังนั้น ณ จุดนี้ ความเสี่ยงหลักในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลอาจเป็นนโยบายการเงินของ Federal Reserve และจากการที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ และการเร่งตัวเพิ่มเติมใด ๆ อาจทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าช้าไปจนถึงปลายปีนี้หรือหลังจากนั้น
จากกราฟทางขวามือจะเเสดงให้เห็นได้ว่าภาพรวมของ Bitcoin ETFs นั้นมีเงินไหลเข้าเป็นจำนวณมากตั้งเเต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เเละยังมีเเนวโน้มที่จะโตอย่างต่อเนื่อง เเละกราฟทางด้านซ้ายมือคือ Bitcoin ETFs ของเเต่ละกองทุน ในกราฟนี้จะเเสดงให้เห็นถึงกองทุนส่วนใหญ่หลายเเห่งมีเงินไหลเข้ากองทุนจำนวนมาก นำโดย Blackrock เป็นหลัก เเต่ในส่วนของ Grayscale ที่เเสดงถึงตัวเลขที่ติดลบ ในความเป็นจริงเเล้วเงินส่วนใหญ่ที่ไหลออกจาก Grayscale ซึ่งเเสดงถึงตัวเลขที่ติดลบ ได้ไหลเข้าไปในกองทุนของ Blackrock ซะส่วนใหญ่ เเละโดยรวม BTC ETFs Flow ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยบวกต่อราคา Bitcoin อย่างมาก
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวน ในกรอบ 35 - 36 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โดย ณ ปัจจุบัน อัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 35.67 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ไทยบาทมีโอกาสที่จะอ่อนค่าได้ถึง 36.70 บาทต่อดอลล่าร์หรือต่ำกว่าในเร็วๆนี้ โดยมี 2 ปัจจัยคอยจับตามองดังนี้
1. DXY ดัชนีดอลล่าร์ที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ: จากข้อมูลการเคลื่อนไหวของ DXY รูปทางขวามือจะเห็นได้ว่าการขยับตัวของดอลล่าร์นั้น เริ่มมีการเคลื่อนที่อยู่ในกรอบ 102.5 - 1042. ค่าเงินบาท: ค่าเงินบาทยังแสดงถึงแนวโน้มที่มีการอ่อนค่าของมูลค่าทางการเงิน โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของดอลลาร์ที่เริ่มกลับมามีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้นังลงทุนส่วนใหญ่หันไปลงทุนต่างประเทศมากยิ่งขึ้นโดยมุมมอง ณ ปัจจุบันหากดอลล่าร์แข็งค่าขึ้นก็จะทำให้อาจจะทำให้เงินบาทเคลื่อนที่อยู่บริเวณแนว 36-36.7 บาท
อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมายระยะยาว 2% และการเพิ่มขึ้นเดือนต่อเดือนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดัชนี Core CPI (นอกจากอาหารและพลังงาน) สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2024 อยู่ที่ 0.4% ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับในเดือนมกราคม และอยู่ในระดับที่สูงกว่าการคาดการณ์ที่ 0.3% และเพิ่มขึ้น 3.7% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยราคาที่พักอาศัย (Shelter Index) ยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ Core CPI ไม่ลดลงในเดือนนี้ ในส่วนของ Headline CPI ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวขึ้น 0.1%จากเดือนที่ผ่านมา อยู่ในระดับ 3.2% เพราะ ราคาพลังงานมีการปรับตัวสูงขึ้น เดือนมกราคมถึง 3.8% รวมถึงค่าโดยสารทางอากาศที่เพิ่มขึ้น 3.6% และราคาอาหารที่ไม่ปรับลดลง จากปีที่แล้ว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าที่คาดการณ์และมีการลดลงในอัตราที่ต่ำ ส่งผลให้ขณะนี้ตลาดมีการคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 4 ครั้งในปี 2024 และค่าในระดับที่สูงจนถึงต้นปี 2025 ยังมีความเป็นไปได้สูงที่ FED จะรักษาอัตราดอกเบี้ยให้คงที่ในการประชุม FOMC 2 ครั้งถัดไปในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม นอกจากนี้ระยะเวลาของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกถูกเลื่อนออกไปไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2024 และปรับลดของงอัตราดอกเบี้ยในอัตรที่ช้า ดังนั้นในระยะสั้นนักวิเคราะห์ยังมองว่าตลาดคริปโตฯ จึงมีโอกาสปรับฐานจากความไม่แน่นอนของเงินเฟ้อ และความกดดันทางการเงินจาก FED ซึ่งก็อาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าสะสมสำหรับเพราะในระยะยาวที่นักวิเคราะห์ยังคงมุมมองบวกจากปัจจัยภายในหลายอย่างที่ยังเป็นบวก เช่น Bitcoin Halving, Bitcoin ETF Net Inflow, Bitcoin ETF approval ในประเทศอื่นๆ ตาม US เป็นต้น
ในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ภาพรวมตลาดคริปโตฯยังคงปรับตัวขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Bitcoin ที่ราคาทำ All-time High ไปแล้ว จากการไหลเข้าของเงินสถาบันสู่ Bitcoin ETF ที่เป็นบวกสูงสุดต่อเนื่อง สำหรับตลาด DeFi ภาพรวม DeFi TVL ในช่วงเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากว่า 50% นำโดยเชน Solana ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ 67% โดยถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในเชน Top 5 ถึง 3 เดือนติด โดยแพลตฟอร์ม Kamino มีการเติบโตสูงสุดเพราะว่ามีประกาศว่าจะ Snapshot เพื่อแจก Airdrop ภายในเดือนมีนาคมนี้ นอกจากเชน Solana แล้ว เชนอย่าง Bitcoin ก็มีการเติบโตของ TVL ที่น่าสนใจมากกว่า 290% จากการเปิดตัวของ Merlin Seal หนึ่งใน Bitcoin Layer 2
หนึ่งไฮไลท์สำคัญของเดือนมีนาคมคือการอัปเกรด EIP-4844 ที่จะทำให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบน Layer 2 ถูกลง ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าจะเป็นปัจจัยผลักดัน DeFi บน Layer 2 ให้มีการใช้งานที่มากขึ้นได้อีก ดังนั้น นักวิเคราะห์จีงมีมุมมองว่าในปีนี้กลุ่ม Layer 2 น่าจะคึกคักขึ้นและมีเปิดตัวตามมาอีกมาก โดยในเดือนที่ผ่านมาก็มี Blast ที่เป็น Layer 2 เปิดตัว Mainnet และเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าไปสะสมแต้มต่อ ซึ่งถ้ามีการแจก Airdrop ตามที่กำหนดไว้ในเดือนพฤษภาคม ก็คาดว่าจะทำให้ TVL เติบโตขึ้นอีกได้
ส่วนแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมาคือ EigenLayer และกลุ่ม Liquid Restaking ต่างๆ เช่น Pendle, Ether.fi, Renzo เป็นต้น
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาราคา Bitcoin ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงราคาประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นมาที่ระดับ 72,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณ 45% ซึ่งเป็นการทำจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาลอีกครั้งหนึ่งของ Bitcoin
ปัจจัยหลักของการขึ้นครั้งก็ยังคงเป็นเรื่องของ Bitcoin ETF ที่มีเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องโดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาก็มีเงินไหลเข้ารวมแล้วกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Bitcoin Halving ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงประมาณกลางเดือนเมษายน 2024 ที่เป็นปัจจัยบวกส่งเสริมกันด้วย โดยในปัจจุบันอัตราการเกิดใหม่ของ Bitcoin อยู่ที่ประมาณ 900 BTC ต่อวัน แต่ความต้องการซื้อจาก Bitcoin ETF มี Net Inflow เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4000 BTC ต่อวันในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นได้ว่า Demand Side มากกว่า Supply Side อย่างมาก
และเมื่อ Bitcoin Halving มาถึง อัตราการเกิดใหม่ของ Bitcoin จากประมาณ 900 BTC ต่อวัน จะเหลือ 450 BTC ต่อวัน และถ้า Net Inflow ของ Bitcoin ETF ยังรักษาระดับได้หรือแม้จะลดลงบ้างก็ยังมากกว่า Supply Side อยู่ดี และจะเป็นผลบวกต่อราคาได้อย่างดี
อีกหนึ่งปัจจัยบวกก็คือจากข้อมูลของ Coinglass สภาพคล่องของ Bitcoin ใน Exchange ต่างๆ ค่อยๆ ลดน้อยลงเพราะ Bitcoin สามารถโอนเข้ามาเก็บและดูแลด้วยตัวเองได้ไม่ยาก ทำให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เกิด Supply Shock ได้ และสามารถดันราคาขึ้นไปได้อีกหากมี Demand ที่เท่ากับหรือมากกว่าเดิม
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้า Net Inflow ของ Bitcoin ETF กลายเป็นลบต่อเนื่องในปริมาณมากก็อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อ Sentiment ของตลาดในแง่ลบรวมถึงมีโอกาสสูงที่จะส่งผลให้ราคาปรับตัวลงในระยะสั้นได้
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของ Whalemap จะเห็นว่ารายใหญ่เก็บของกันที่ช่วงราคา $45,000 กับ $50,000 กันเยอะมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเงินจากส่วนที่ไหลเข้า Bitcoin ETF ที่มาจากการจัดสรรเงินทุนของกองทุนและนักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นสหรัฐ ฯ ซึ่งต้นทุนของพวกเขาเหล่านี้อยู่สูง ทำให้มีแนวโน้มว่าอาจจะยังไม่มีการเทขายทำกำไรเร็วๆนี้
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2024 ทาง Ondo Finance ได้ประกาศเปิดตัว Product ใหม่ภายใต้ Ondo Finance ที่ชื่อ Ondo Global Markets (Ondo GM) ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้ลงทุนและนักพัฒนาโปรโตคอลบนเชนสามารถเข้าถึงหลักทรัพย์แบบดั้งเดิมเช่นหุ้น Nasdaq และมีความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนและโอนหุ้นหากันได้โดยตรง
โดยทาง Ondo Finance จะนำหุ้นต่างๆในตลาดมา Tokenized บน Blockchain มีระบบการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นจริงให้กับโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการรับรองโดย กลต สหรัฐ
Ondo GM ถูกออกแบบมาเพื่อผสมผสานข้อดีของโบรกเกอร์แบบดั้งเดิมกับข้อดีของ Blockchain เช่น ความเข้ากันได้กับ Smart Contract และการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ได้ตลอด 24/7 เมื่อจำเป็น
โดยตัวหุ้นจะถูก Tokenized ด้วยมาตราฐานที่ชื่อว่า OGM’s Directive Tokenization ที่ผู้ถือมีสิทธิ์บนหุ้นนั้นจริง สามารถทำการซื้อขาย และโอนได้อย่างอิสระ ที่สำคัญยังมี Liquidity เพียงพอต่อการซื้อขายจากตลาดหุ้นจริง และอาจยังสามารถนำหุ้นไปต่อยอดทั้งการนำไปค้ำ และ กู้
“Re-staking” เป็น Narrative ที่เกิดขึ้นมาใหม่ ที่เหล่านักลงทุนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมากซึ่งถูกคิดค้นโดยทีม EigenLayer โดย Concept ของการ Re-staking นั่นก็คือ การนำผลตอบแทนจากการ Staking เหรียญ ETH นำมา Stake ใหม่อีกรอบซึ่งจะให้ผลตอบแทนต่อผู้ Stake มากถึงสองต่อ
โดย Pain Point ที่ทีม EigenLayer ค้นพบนั่นก็คือ ทุกวันนี้มี Blockchain เกิดขึ้นมาใหม่มากมาย และการจะสร้าง Blockchain มาหนึ่งตัวก็ต้องใช้ทรัพยากรที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเสริมความปลอดภัยให้กับเครือข่ายผ่านการเพิ่มจำนวน Validator Node หรือผู้ตรวจสอบธุรกรรม ยิ่งต้องใช้ต้นทุน
มหาศาลเพื่อเสริมความปลอดภัย
EigenLayer จึงเล็งเห็นว่า Ethereum ที่มี Validator อยู่มากกว่า 979,685 Node จะมีทางไหนที่สามารถเอาความปลอดภัยระดับ 979,685 Node มาดูแลความปลอดภัยของเครือข่ายอื่นๆ จึงเกิดเป็น EigenLayer ที่เปิดให้โปรเจกต์เข้ามายืมความปลอดภัยของ Ethereum และจ่ายผลตอบแทน (Re-staking) คืนให้กับคนที่นำ ETH มา Stake ไว้กับ EigenLayer นั่นเอง
EigenLayer เปิดให้นักลงทุนเริ่ม Stake เหรียญ Liquid Staking ETH ของแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Lido, Rocketpool, Stader ได้ โดยเริ่มเปิดฝากตั้งแต่มิถุนายน 2023 และมีการเปิดให้ฝากเป็นระยะๆ นอกจากนี้แพลตฟอร์มยังมีระบบเก็บ Point เพื่อจูงใจให้นักลงทุนนำ ETH มา Stake ไว้เพื่อรับ Reward จากแพลตฟอร์มในอนาคตอีกด้วย
ซึ่งนับตั้งแต่แพลตฟอร์มเปิดตัวจนถึงปัจจุบัน TVL ของ EigenLayer ก็เพิ่มขึ้นจนมาแตะ 12,440 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในระยะเวลาเพียง 9 เดือนเท่านั้น ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มที่มี TVL มากที่สุดอันดับ 2 บนโลก DeFi รองจาก Lido ที่มี TVL อยู่ที่ 40,137 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ผลตอบแทนที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสหรัฐ (Treasury Bills) แบบระยะสั้น 3 เดือน ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนสูง ที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนสูงขึ้นต่อเนื่องจากความกังวล Recession โดยปัจจุบันผลตอบแทนทรงๆตัว ตอนนี้อยู่เฉลี่ยปีละ 5.24% ส่วนผลตอบแทนจากการฟาร์มหรือปล่อยกู้ Stablecoin บนแพลตฟอร์มต่างๆในช่วงเดือนที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาอยู่ที่ราว 18%
โดยผลตอบแทนฟาร์มและปล่อยกู้ Stablecoin ในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เพิ่มขึ้นมาจากเดือนก่อนๆอย่างมีนัยสำคัญ เป็นเพราะว่าสภาวะตลาดคริปโตฯ และ DeFi กลับมาคึกคักมากขึ้นจากตลาดที่เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะกระทิง ทำให้ธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนและราคาเหรียญที่แจกเป็น Incentive เพิ่มขึ้น
Farcaster คือ Web3.0 Social Media แพลตฟอร์มที่เน้นการพัฒนาบน Base และขยายมาถึง Solana ในเวลาต่อมา
Frame เป็น Function ภายใน Farcaster ซึ่งเปิดให้ Developers สามารถพัฒนา Code เข้ามาใช้งานร่วมกับ Social Media ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมการ Vote การ Swap เหรียญ การตรวจสอบธุรกรรมต่างๆ รวมไปถึงการเปิดให้ Mint NFT
การพัฒนาในลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อการใช้งานให้คนเข้าถึง Function ต่างๆได้อย่างง่ายและอิสระ และทำให้การใช้งานกับ NFT เป็นสิ่งที่เป็นปกติมากขึ้น
ในช่วงที่ผ่านมา Base มีการเปิดให้ Mint NFT ผ่านใน Farcaster มากขึ้น