@CoinMarketCap ในปี 2023 ของคนไทยนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 731,295 ครั้งต่อเดือน ลดลง 38.92% เมื่อเทียบกับ ATH ปีก่อน แต่สถิติทั่วโลกที่ลดลง 57.03% จากช่วงเวลาเดียวกันนั้น พบว่านักลงทุนไทยยังสนใจคริปโทเคอร์เรนซีมากกว่าประเทศอื่นๆ
ภาพรวมตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขายในไทย ได้แก่ Bitkub และ Satang ผลการดำเนินงานปี 2022 ยังไม่สู้ดีนักเมื่อเทียบกับปี 2021 ทั้งฝั่งรายได้และกำไรสุทธิที่ลดลง
นอกจากนี้ยังมีผู้เล่นใหม่ 2 รายคือ
กระแสการเติบโตของคริปโทเคอร์รินซีนั้นเป็นเหมือนกับอนาคตที่ไม่อาจเลี่ยงได้ ทางจีนเองแม้จะยังต่อต้านอยู่ แต่ก็ได้สนับสนุนให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางของคริปโทเคอร์เรนซีด้วยเช่นกัน
จากต้นปีที่ผ่านมา ก.ล.ต.สหรัฐ มีความเข้มงวดกับคริปโทฯ อย่างเห็นได้ชัด จากคดีความระหว่าง Ripple ที่ยืดเยื้อมา 3 ปีแล้วยังไม่ได้ข้อสรุป และคดีใหม่ที่ฟ้อง Binance US และ Coinbase ในข้อหา “ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน”
ซึ่งความหวังก็ยังไม่หายไปทั้งหมด เพราะมีสมาชิกรัฐสภาบางท่านไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมของ Gary Gensler ประธาน ก.ล.ต. สหรัฐ โดยจะออกกฎหมาย Stabilization Act ที่ปรับโครงสร้าง ก.ล.ต. สหรัฐ ไม่ให้ยึดโยงคำสั่งแต่เพียงคนเดียว และจะปลด Gary ออกจากตำแหน่ง
นับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาราคา Bitcoin ปรับตัวขึ้นสูง 87% โดดเด่นกว่าเหรียญอื่นๆอย่างมากจนทำให้มี Dominance ในตลาดทะลุ 51% ของเหรียญทั้งหมดเป็นจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปี สิ่งที่กระตุ้นให้ราคา Bitcoin ปรับตัวสูงขึ้นมีหลายสาเหตุจากเหตุการณ์ Bankrun
แต่มีอีกเหตุผลหนึ่งมาแรงในช่วงนี้คือ Blackrock และบริษัทจัดการสินทรัพย์อื่นๆทยอยยื่นขอเปิด Spot Bitcoin ETF กันมากกว่า 6 บริษัท โดย Blackrock เป็นถึงบริษัทที่ดูแลทรัพย์สินมากกว่า 9.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสถิติการถูกปฏิเสธการเปิด ETF เพียง 1 ครั้งจาก 576 ครั้ง
ในส่วนของพัฒนาการ Bitcoin เองก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเช่นกัน เช่น Ordinals ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถสร้าง NFT บน Bitcoin หรือ BRC-20 ที่สร้างเหรียญอื่นบน Bitcoin ได้ ทำให้เกิดการใช้งาน On-chain สูงขึ้นมากจนผลักดันค่าธรรมเนียมให้สูงขึ้นเช่นกัน
พื้นฐานยังแข็งแกร่งทั้ง Supply ที่ลดลงอย่างต่ำเนื่องช่วยลดความเฟ้อของเหรียญ สัดส่วนการใช้งานเมื่อเทียบกับคู่แข่งก็มากขึ้นเรื่อยๆ และในส่วนของ Real World use case ก็มีธนาคารกลางจีนใช้ Ethereum Blockchain ในการทำ Tokenization พันบัตรมูลค่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย
สิ่งที่ต้องน่าจับตามองต่อจากนี้คืออัพเกรด EIP-4844 ในสิ้นปีนี้ ที่จะช่วยให้ต้นทุนการทำธุรกรรมบน Ethereum Layer 2 ถูกลงอีก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้งานที่มากขึ้น และ EIP-4337 Account Abstraction ที่เปิดโอกาสให้สร้าง Wallet ที่ง่ายและเข้าถึงกลุ่ม Mass Adoption ได้ง่ายขึ้น
หลังจากเหตุการณ์ Shanghai Upgrade มีคนกล้าที่จะฝาก ETH มากขึ้นจนทำให้ Staking Ratio เพิ่มขึ้นจาก 15% ขึ้นไป 16% และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเนื่องจากมีคนรอฝากอีกมากกว่า 2.9m ETH
ทำให้เหรียญในกลุ่ม Liquid Staking นั้นได้รับอานิสงส์มากขึ้นได้ด้วย โดยมี Lido Finance และ Rocket Pool จะเป็นผู้นำหลักในการเติบโต ส่วนการต่อยอดนั้นก็มี LSD Finance เข้ามาเสริมให้นักลงทุนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนให้มากขึ้น เรามองว่าตลาดกลุ่มนี้จะเติบโตได้เรื่อยๆ ในอนาคต