ปีนี้นับได้ว่าเป็นปีที่เหล่า DeFi OG ต่างมีพัฒนาการที่น่าสนใจแม้ว่าจะอยู่ในช่วงตลาดหมีก็ตาม ล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา Uniswap DEX อันดับต้นๆของโลก Cryptocurrency ได้เปิดตัว " Uniswap V4 " ขึ้นหลังจาก V3 ที่ออกมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว การอัปเดตครั้งนี้ได้ยกเครื่อง Uniswap ให้กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง ทั้ง " Hook " ที่เป็น Smart Contract รูปแบบใหม่ที่ตั้งเวลาการทำงานได้ และ " Singleton " ที่จะรวม Pool เหรียญทุกคู่ไว้ใน Smart Contract เดียว ทำให้ประยุกต์การใช้งานได้อีกมาก
แม้ว่า Uniswap V4 จะยังอยู่ในระหว่าง Audit แต่ก็ไม่น่าจะมีอะไรต่างจาก Whitepaper มากนัก ทาง Cryptomind Research จะพาผู้อ่านมาเจาะลึกถึงพัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่นี้
เปิดตัวครั้งแรก โดยใช้หลักการ AMM ที่ทุกคู่เหรียญต้องจับคู่กับ ETH เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการ Swap ข้ามเหรียญที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 2 ต่อ ถึงแม้จะมีความไม่สะดวกแต่ก็ถือเป็น Proof of concept ที่ใช้งานได้ จน Paradigm ให้เงินทุน $1m
แก้จุดอ่อนที่ V1 เคยมีเช่น สามารถจับคู่เหรียญใดก็ได้แล้ว และเพิ่ม Flash swap, Oracle, Protocol Charge (Fee switch ในปัจจุบัน) นอกจากนี้ยังขยายทีมจาก 3 คนเป็น 10 คน ทำให้ยุคนี้ถือเป็น "ยุคทองของ Uniswap" เลยก็ว่าได้ ทำให้ในปีนั้น Uniswap มี Market Share มากกว่า 50% แล้วเป็นอันดับ 5 ของตลาด Exchange ทั่วโลก
ได้เปิดตัวอีกครั้งด้วย Function ใหม่ที่เรียกว่า "Concentrated Liquidity" ที่สภาพคล่องสามารถถูกกำหนดให้อยู่ใน Range ที่เราต้องการได้ ช่วยให้ผู้เพิ่มสภาพคล่องกำหนดความเสี่ยงจากราคาที่เหวี่ยงเกินไปและได้รับค่าธรรมเนียมสูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานก็จะได้รับอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีมากยิ่งขึ้นจาก Deep Liquidity การอัพเกรดครั้งนี้ยิ่งทิ้งห่างคู่แข่งเข้าไปอีกเพราะทำให้สภาพคล่องยิ่งกระจุกมาอยู่ในที่เดียว และการมี Business Source License ทำให้คู่แข่งไม่สามารถ Fork ไปใช้ได้ 2 ปี
มิถุนายน 2023 ทาง Uniswap Labs ได้ประกาศว่า Uniswap V4 จะต่อยอดจาก Uniswap V3 เดิมที่เพิ่มความยืดหยุ่นกับประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้งาน Uniswap ด้วยการนำเสนอ 2 Feature หลัก คือ " Hook " และ " Singleton " โดยทั้ง 2 ลักษณะนี้จะมีรายละเอียดดังนี้
Hook คือ Smart Contract รูปแบบใหม่ที่สามารถ "กำหนดให้ทำงานตามช่วงเวลาที่กำหนด" ได้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิด Function ใหม่ๆ ได้ดังนี้
ปัญหาของนักลงทุนรายใหญ่คือการ Swap แต่ละครั้งจะเกิด Price Impact ได้ แต่ถ้าให้ทยอย Swap ก้อนเล็กๆ ก็จะเสียทั้งเวลาและพลังงานอีกด้วย TWAMM หรือการซื้อ-ขายแบบเฉลี่ยตามเวลา จึงเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนรายใหญ่
Hook สามารถเขียน TWAM ที่จะส่งคำสั่งซื้อขายที่นักลงทุนต้องการแบ่ง Order นั้นให้ระบบช่วยทยอยส่งคำสั่งแบบแบ่งจำนวนตามระยะเวลาและจำนวน Order ที่เรากำหนด ข้อดีนี้จะช่วยให้
Uniswap V2 และ V3 จะมีการกำหนดค่าธรรมเนียมได้ 4 ค่าเท่านั้น คือ 0.01%, 0.05%, 0.3% และ 1% แม้ว่าจะดูครบถ้วนแต่ถ้าเลือกไปแล้ว ก็ไม่สามารถปรับแก้ไขระหว่างให้บริการสภาพคล่องได้
แต่เราสามารถใช้ Hook เขียนคำสั่งให้สามารถแก้ไข Fee ให้ปรับเปลี่ยนตาม Volatility ของตลาด หรือ Input ที่เรากำหนดได้ เช่น ตอนที่ตลาดซื้อขายมากก็เพิ่ม Fee และลด Fee เมื่อตลาดค่อนข้างเงียบ ความยืดหยุ่นนี้จะช่วยผู้เพิ่มสภาพคล่องให้สามารถรีดผลตอบแทนสูงสุดในทุกช่วงตลาดได้ดียิ่งขึ้นไปอีก
Limit Order เป็นการตั้งราคาซื้อ-ขายที่เราต้องการลงไป เมื่อราคาวิ่งไปถึงจุดที่เรากำหนด Smart Contract ของเราก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ วิธีการนี้จะใช้ใน DEX ทั่วไปไม่ได้ แต่สำหรับ Uniswap V4 หรือ DEX อื่นๆที่อัปเดตมาในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานี้ เริ่มมีหลายแพลตฟอร์มรองรับ Function นี้ก่อนเรียบร้อยแล้ว
ใครที่เคยใช้ Uniswap V3 มาก่อนจะทราบดีว่าหากคู่เหรียญที่เราฝากเข้าไปนั้น ราคาวิ่งเกิน "กรอบราคา" ที่เรากำหนด จะทำให้ไม่ได้รับค่าธรรมเนียมนอกกรอบราคา และทำให้ LP ของเรานั้น "All in ไปกับเหรียญที่มูลค่าน้อยกว่า"
เช่น การเพิ่มสภาพคล่อง ETH-USDT ใน Range "1,500 - 2,000" หากราคา ETH มากกว่าหรือเท่ากับ $2,000 >> LP จะ All in USDT เพราะมูลค่าต่ำกว่า ETH ที่กำลังราคาสูงขึ้น ในขณะเดียวกันถ้า ETH ราคาต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1,500 >> LP จะ All in ETH ให้เพราะ ETH ราคาต่ำกว่า เป็นต้น
ซึ่งเมื่อเกิดการ All in แล้วทำให้ LP เหมือนกับไม่ได้เพิ่มสภาพคล่อง ดังนั้นเราสามารถปรับแต่ Hook ให้นำ LP นี้แตกออกจาก Uniswap V4 แล้วไปปล่อยกู้ใน Lending Protocol อื่นๆ เช่น Compound และ Aave ได้ ซึ่งทำให้สภาพคล่องของเรานั้นได้รับผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในเรื่อง "การปรับแต่ง Oracle", การนำ Fee จาก LP มาทบต้นให้ (ปกติ V3 ทำไม่ได้) หรือ Uniswap V4 จะทำ Internal MEV เองแล้วนำรายได้แบ่งให้ผู้ถือสภาพคล่องก็เช่นกัน จะเห็นว่า Hook นั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลายอย่างมาก
Singleton เป็นการ "รวมทุก Pool ไว้ใน Smart Contract เดียว" จากปกติที่การสร้าง Pool ใน Uniswap V3 แต่ละครั้งจะเป็นเหมือนกันสร้าง Smart Contract ใหม่ขึ้นมา ซึ่งมีข้อเสียคือ ค่าแก๊ส/ค่าใช้จ่ายในการสร้างสูงมาก เพราะเป็น Smart contract ที่ละเอียด การเปลี่ยนเป็น Singleton จึงมีข้อดีคือลดค่าแก๊สเป็นหลัก
การที่รวมทุก Pool ไว้ใน Smart Contract เดียวกันจะช่วยประหยัดค่า Gas ในการสร้าง Pool ใหม่ได้ถึง 99% (จากการประมาณ) เพราะ Smart Contract ตัวหลักนั้นได้สร้างไว้แล้ว การสร้าง Pool ใหม่หลังจากนี้จะไม่จำเป็นต้องเป็น Smart Contract ที่ยาวและยุ่งยากซับซ้อนอีกต่อไป
การที่ทุก Pool อยู่ใน Smart Contract เดียวกันนั้น เราสามารถทำ "Flash Accounting System" ซึ่งเป็นการรายงาน Net Balance ของเหรียญทั้งหมดได้เลย โดยที่ไม่ต้องรายงานทุกการ Swap แต่ละครั้ง ยกตัวอย่าง คือ
โดยสมมติให้ 1 ETH = $1,700
สรุปผลกระทบของ Pool จะมีดังนี้
หากเป็นการรายงานผลการ Swap แบบปกติลง Smart Contract จะต้องรายงานทั้งหมด 4 ครั้ง แต่สำหรับ Flash Accounting System จะรายงานเพียงครั้งเดียวว่ามีการ Swap 300,000 USDC เป็น 300,000 USDT ก็ได้ผลลัพธ์เหมือนกันแล้ว ช่วยให้ประหยัดค่าแก๊สอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
แต่ระบบนี้ยังไม่พร้อมใช้งานจนกว่า EIP-1153: Transient storage opcodes จะเริ่มใช้งาน (Uniswap Labs คาดว่าจะรวมอยู่ใน Hard Fork ครั้งหน้า)
การเพิ่มสภาพคล่องใน Uniswap V4 บางครั้งจะต้องใช้ Wrapped ETH (WETH) แทน ซึ่งสร้างความวุ่นวายให้ผู้ใช้งานในการเพิ่มอีก 1 ขั้นตอน ดังนั้นการที่ V4 เปิดให้ใช้ ETH Native Token ได้โดยตรงจะช่วยให้ลดค่าแก๊าและความวุ่นวายได้ดีขึ้น
Uniswap V4 ยังความเป็น Public Infrastructure อยู่ซึ่งหมายความว่า Smart Contract ที่เขียนลงไปนั้นจะไม่สารถแก้ไขย้อนหลังได้ (Non-Upgradable) และมีความ Decentralization จากการให้ Uniswap DAO หรือผู้ถือ $UNI เป็นคนร่วตัดสินใจทิศทางของ Uniswap เช่นเดิม ยกตัวอย่างเช่น Fee Switch ก็ยังนำมาให้ UNI Holder Vote เช่นเดิม
Uniswap V4 มีการจด Business Source License 1.1 คุ้มครอง Code เป็นระยะเวลาสูงสุด 4 ปี ทำให้ในช่วงที่เริ่มใช้งาน จะไม่มีใคร Fork ไปใช้งานได้ แม้การใช้ License คุ้มครองให้ไม่มีใครลอกได้จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างขัดกับความ Decentralized แต่ Uniswap V2 เคยให้บทเรียนมาแล้วว่าการเปิด Public จะทำให้มี Vampire Attack อย่าง Sushiswap กำเนิดขึ้นแล้ว Fork Code ไปใช้งานทันที ดังนั้นการมีการคุ้มครองระดับหนึ่งในช่วงแรกจึงยอมรับได้ แต่ผู้เขียนมองว่า 4 ปีเป็นการคุ้มครองที่นานเกินไป
ในตอนนี้ Uniswap V4 อยู่ในระหว่าง Audit และมีการให้ Community ช่วยตรวจสอบโค้ดแล้ว ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานก็พร้อมใช้งานจริง
Uniswap V4 ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าทางวงการ DEX ครั้งใหญ่อีกครั้ง นอกจากจะเสริมความแข็งแกร่งของ Concentrated Liquidity ที่ทำได้ดีมากแล้วใน V3 ให้ดียิ่งขึ้น ยังมีการพัฒนา Hook และ Singleton ที่ช่วยลดค่าแก๊สและประสบการณ์ใช้งานให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
เรามองว่าหลังจากนี้ DEX จะเริ่มมี Function ที่ดีเทียบเท่ากับ CEX มากขึ้นเรื่อยๆทั้งสภาพคล่องและการใช้งานที่สะดวก โดยในช่วงที่เขียนนั้นกำลังเป็นช่วงที่ ก.ล.ต.สหรัฐกำลังเนินหน้าฟ้องร้อง Binance US และ Coinbase ในเรื่องการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน (unregistered Security) ก็ได้ทำให้ Volume ของ DEX เพิ่มขึ้น 444% ทันที
หลังจากนี้ DEX จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในการเป็น "ทางออก" ให้กับนักลงทุนที่ไม่เชื่อมั่นในตัวกลาง หรือคนที่ต้องการมีอิสรภาพในการใช้งานของตัวเองโดยที่ไม่ต้องรายงานทุกธุรกรรมกับรัฐบาลที่พยายามเริ่มต้นทดลอง Retail CBDC ในวงจำกัด
Uniswap V4 จะยังคงเป็น DEX อันดับต้นๆที่เริ่มนักลงทุนคิดถึงต่อไปได้หรือไม่ ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ