หลังจาก Uniswap ได้เปิดตัว Uniswap v4 ในเดือนที่ผ่านมาและเตรียมตัวตรวจสอบ Smart contract ให้พร้อมก่อนที่จะเปิดใช้งานจริง เมื่อคืนที่ผ่านมา Uniswap ก็ได้เปิดตัวโปรเจกต์ที่พร้อมใช้งานทันทีในรูปแบบ Beta ที่ชื่อว่า “UniswapX” โดยมีจุดเด่นในการนำระบบประมูลแบบ Dutch มาประยุกต์ใช้กับการแลกเปลี่ยน (Dutch auction-based trading) ช่วยเพิ่มศักยภาพในหลายด้าน เช่น การ Swap แบบไม่มีค่าแก๊ส (ค่าธรรมเนียม), การป้องกัน MEV อย่าง Frontrun, Sandwich attack และอื่นๆ
บทความนี้จะพามาเจาะ UniswapX ว่ามีหลักการทำงานอย่างไร ข้อดีแบบละเอียด และความคิดเห็นต่อ UniswapX ครับ
https://blog.1inch.io/the-1inch-network-releases-a-major-upgrade-fusion/
UniswapX เป็นระบบ Order แบบใหม่ที่เรียกว่า “Exclusive Dutch Order” บน Uniswap ที่เราสามารถติ๊กเพื่อใช้งานได้ (Opt in) โดยระบบนี้จะนำเอาระบบการประมูลแบบ Dutch มาใช้ ยกตัวอย่างดังนี้
ระบบประมูลแบบอังกฤษ (English auction) จะเป็นแบบที่เราคุ้นเคยคือ จะมีราคาเปิดขั้นต่ำ แล้วผู้ประมูลจะ “เสนอราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆหากมีการแย่งกัน” โดยระบบนี้อาจกินระยะเวลานานกว่าผลลัพธ์จะสิ้นสุด
ต่างกับระบบประมูลแบบ Dutch (Dutch auction) จะทำในทิศทางตรงกันข้ามคือ เจ้าของสินค้าจะตั้งราคาไว้สูงที่สุด “แล้วจะค่อยๆลดราคาลงเรื่อยๆ จนมีคนยกมือรับ สินค้านั้นจะถูกประมูลออกทันที” รูปแบบการประมูลนี้จะจบได้เร็ว เหมาะกับสินค้าที่มีอายุสั้น
UniswapX นำระบบ Dutch auction มาประยุกต์ใช้กับการแลกเปลี่ยน โดยผู้แลกเปลี่ยน (Swapper) จะเป็นเหมือนเจ้าของสินค้าที่ส่งราคาที่ตนเองต้องการเข้าไปในระบบ หากไม่มีคนรับได้ที่ราคานี้ จะยอมลดอัตราแลกเปลี่ยนให้แย่ลงเรื่อยๆ จนในที่สุดมี Filler (หรือ Resolver บน 1inch fusion mode) ที่โอเคกับ rate นี้ ยอมรับคำสั่งนั้น แล้วแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นหน้าที่เดียวกับผู้ประมูลนั่นเอง ซึ่ง Swapper จะมีกรอบราคาในใจที่รับได้ และมีกรอบเวลาที่กำหนด หากไม่ทันจะยกเลิกคำสั่งทันที (อธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป)
https://blog.uniswap.org/uniswapx-protocol
ในเชิงการทำงานบน UniswapX นั้น ผู้ใช้งาน (Swapper) จะ “ส่งคำสั่ง Off chain ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมแบบ Dutch auction” เข้าไปใน Pool กลางที่รวมหลาย Transaction ไว้ในนั้นเพื่อให้ผู้ทำธุรกรรม (Filler) ซึ่งมีเหมือนเป็นคนประมูลรอให้สินค้านั้นลดราคาลงเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ตัวเองคิดว่าคุ้มค่าในการทำงานให้ ก็จะ “Fill คำสั่ง” นั้นให้โดยสามารถไปดึงอัตราแลกเปลี่ยนมาจาก Uniswap V2, V3 หรือในอนาคตอาจจะเป็น DEX อื่นๆก็ได้เช่นกัน
กำหนดให้นายหาญต้องการแลก 1 ETH เป็น USDC โดยเรทตลาดในตอนนั้นคือ 1 ETH = $1,900 และค่าแก๊สในขณะนั้น $50
นายหาญจะส่งคำสั่ง Swap 1 ETH เป็น USDC ให้ UniswapX โดยมีกรอบราคา $1,850 - $1,950 โดยขั้นตอนนี้นายหาญจะ “ไม่เสียค่าแก๊ส”
คำสั่ง Swap 1 ETH → USDC ของนายหาญจะเข้าไปใน Pool กลางให้ Filler สามารถประมูลได้ ซึ่งจะเริ่มต้นที่นายหาญต้องการอัตราแลกเปลี่ยน 1 ETH → 1,950 USDC ใน 12 วินาทีแรก (1 Block ของ Ethereum blockchain) เมื่อไม่มี Filler คนไหนรับเรทนี้ ระบบ Dutch auction จะค่อยๆลดเรทเป็น นายหาญต้องการ 1 ETH → 1,940 USDC ใน 12 วินาทีถัดไป
เมื่อราคาลดลงถึงจุดที่ Filler พอใจและยังอยู่ในกรอบที่นายหาญโอเค เช่น 1 ETH → 1,895 USDC Filler จะดึงคำสั่งนี้ไป Execute on chain ทำให้นายหาญได้ 1,895 USDC ทั้งๆที่หากนายหาญ Swap รูปแบบปกติจะได้รับเพียง 1850 USDC เพราะหักค่าแก๊ส $50 (ได้เรท $1900 แต่หักแก๊ส $50)
ในความเป็นจริง “Filler ไม่ได้รับงานจากนายหาญเพียงคนเดียว” เพราะ 1 Block สามารถใส่ธุรกรรมได้มากกว่านั้น หากราคาตลาดของ 1 ETH = $1900 แปลว่าจะได้กำไรจากนายหาญ $5 เพราะฉะนั้นถ้ารับงานนี้ได้ 10 คนจะได้กำไรจากส่วนต่าง $50 ซึ่งเท่ากับต้นทุนค่าแก๊สที่ $50 พอดี (Break even) ดังนั้นถ้า Filler สามารถออกแบบ Transaction ให้ต้นทุนค่าแก๊สต่ำ พร้อมๆกับหากำไรและจำนวน Swapper ได้มากเท่าไหร่ กำไรก็จะคุ้มค่าขึ้นมากเท่านั้น
วิธีการนี้หลายคนอาจจะคุ้นเคยในชื่อ MEV searcher จากบทความ “Manifold Finance” กับการสร้าง MEV Protection Product” หรือ Optimistic rollup ที่จะมีคนกลุ่มหนึ่งเป็นผู้รวบรวมการทำธุรกรรมเพียงคนเดียว ช่วยให้ประหยัดค่าธรรมเนียมได้
หลังจากที่เข้าใจระบบ Exclusive Dutch Order ของ UniswapX แล้ว Crytpomind research จะอธิบายประโยชน์ของ UniswapX ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
จากตัวอย่างในหัวข้อก่อนหน้านั้น จะเห็นว่าการมี Exclusive dutch order ทำให้นักลงทุนสามารถมีกรอบราคาที่รับได้อยู่ในช่วงที่กำหนด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาจจะมี Filler ที่สามารถทำกำไรจากการ Arbitrage จากหลากหลาย DEX หรือการประหยัดค่าแก๊สคอยช่วยเหลือ ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนโดยรวมมีแนวโน้มออกมาดีขึ้นกว่าการ Swap บน Uniswap V2 และ V3 เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
จุดเด่นสำคัญของ UniswapX คือการส่งคำสั่งจะออกไปในรูป Off chain ก่อนในตอนแรก เมื่อมี Filler ยอมรับเรทแล้วจึงถูกดึงคำสั่งเหล่านี้ไป Execute on chain จริง ซึ่งจังหวะแรกที่ส่งคำสั่งแบบ off chain นั้นสามารถออกแบบให้ “ไม่มีค่าแก๊ส” ช่วยให้นักลงทุนประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มาก เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยสามารถใช้งานได้ดีมากยิ่งขึ้น
*Swapper จำเป็นต้องเสียค่าแก๊สในขั้นตอนการ Approve permit2 ของเหรียญที่ต้องการ Swap เพียงหนึ่งครั้งต่อเหรียญ หลังจากนั้นสามารถ Swap โดยที่ไม่ต้องมี Native token ของเชนนั้นๆได้
การส่งคำสั่งขึ้นไปบน Off chain ให้ Filler เลือกนั้นไม่เสียค่าแก๊ส และถ้าในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ไม่มี FIller มาดึงธุรกรรมลงไปในระบบ คำสั่งนั้นก็จะ Fail โดยอัตโนมัติโดยที่ Swapper ไม่ต้องเสียอะไร
แตกต่างจากการใช้งาน Blockchain ปกติที่การส่งคำสั่งนั้นจะเข้าไปในรูปแบบ On chain ที่เสียค่าแก๊สทันทีแล้วรอใน Mempool ซึ่งถ้าช่วงเวลาที่หนาแน่นมากก็อาจจะ Fail โดยที่ค่าแก๊สนั้นต้องเสียไปฟรีๆได้
Maximal extractable value (MEV) คือการรีดหาประโยชน์สูงสุดจากคนใช้งาน Blockchain ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น Sandwich attack เป็นแทรกคำสั่งซื้อก่อนหน้าเพื่อให้ได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่า หลังจากนั้นธุรกรรมจริงจะได้เรทที่แย่และช่วยดันราคาให้สูงขึ้น หลังจากนั้นก็คำสั่งขายลงไป ทำให้ได้ส่วนต่างอย่างแน่นอน เพราะมี MEV searcher หรือ flashbot สามารถเรียงธุรกรรมได้อิสระ
ตำสั่งที่ UniswapX ส่งไปนั้นจะอยู่ในรูปแบบ Off chain ช่วยให้กลุ่ม Flashbot ไม่เห็นธุรกรรมของเราทำให้เกิดโอกาสโดน MEV ได้น้อยลง และ Filler ไม่ได้ออกแบบให้สร้างธุรกรรมแทรกอีกด้วย UniswapX จึงมีประโยชน์มากสำหรับนักลงทุนรายใหญ่ที่เสียผลประโยชน์มากจากการโดน MEV โจมตีให้ได้เรทที่แย่ลง
https://twitter.com/Uniswap/status/1680955621343129600
UniswapX ในตอนนี้ยังเปิดให้ใช้งานแบบสมัครใจ (Opt in) บน Ethereum mainnet เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน Uniswap มีอีกอย่างน้อย 6 เชนที่สามารถนำไปใช้ Implement ได้ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เกิดการ Cross-chain swap ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมได้เช่นกัน
โดยใน Roadmap ของ Uniswap จะมีการทำ Bridge ภายในปี 2023 ด้วย ซึ่งจะต่อยอดให้การ Cross chain swap นั้นสามารถทำได้อย่างแน่นอน
https://blog.1inch.io/the-1inch-network-releases-a-major-upgrade-fusion/
UniswapX ที่ช่วยให้ Swapper ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการใช้งานด้วยระบบ Dutch auction หรือการป้องกัน MEV จากการส่งคำสั่ง Offchain (Offchain sigen order) ไปก่อนนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะ
สิ่งเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรมากในวงการและเป็น Opensource ทั้งหมด ในรอบนี้ UniswapX เองจึงเป็นแบบ Open source (GPL) เช่นกัน แต่ Uniswap V4 ที่กำลังอยู่ในช่วง Audit มี License 4 ปี
อย่างไรก็ตาม มีข้อแตกต่างเล็กน้อยระหว่าง UniswapX ที่ Filler เป็นใครก็ได้ที่มีความพร้อมในการทำงาน แต่ Resolver ของ 1Inch นั้นต้อง Stake 1 $1INCH เป็นอย่างน้อยใน Feebank contract เพื่อใช้เป็นค่าธรรมเนียม เรามองว่าสิ่งนี้เป็นอีกหนึ่ง Use case ของ $UNI ที่สามารถทำได้ในอนาคตเช่นกัน
https://app.uniswap.org/#/swap
UniswapX ยังอยู่ในช่วง Beta ทำให้อาจจะยังมี Filler ไม่เยอะมากนัก ทำให้แม้จะเลือกการใช้งานแบบ UnswapX ก็อาจจะเข้า Route ไป Uniswap V2 หรือ V3 เหมือนเดิมได้อยู่ หลังจากนี้ที่ระบบอยู่ตัวมากขึ้น การใช้งานอาจจะเข้าไปทาง UniswapX มากขึ้น
ไม่ว่า Uniswap V3 จะหมด License หรือมี DEX อื่นที่ออกแบบการใช้งานให้ดีขึ้นมากขนาดไหนก็ตาม Uniswap ก็ยังมีการเก็บค่าธรรมเนียม (Fee) ได้ $675,294 ต่อวัน ซึ่งสูงที่สุดใน DEX ทั้งหมด และมียอดเทรดสะสมมากกว่า $1.5 trillion แล้ว ความเป็นที่หนึ่งของ Uniswap ยังคงไร้ข้อกังขาแม้จะมีผู้ท้าชิงใหม่มามากมายก็ตาม
หนึ่งในเหตุผลที่คนชอบ Uniswap นั้นเพราะการเกิดขึ้นเป็นตัวแรกๆ และมีอุดมการณ์ที่ดีในการต้องการให้ Uniswap เป็นของสาธารณะ (Public good) ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของโดยตรง จะเห็นว่า
ปัจจุบัน UniswapX ได้รับการตรวจสอบผ่าน ABDK audit และมี Bug bounty ให้ผู้ที่หาจุดอ่อนเจอ การพัฒนาหลังจากนี้แม้จะไม่ได้มีอะไรหวือหวาเหมือนครั้งที่เปิดตัว Uniswap V3 concentrated liquidity แต่เน้นมาทาง Function การทำงานทั่วไปที่หลายๆแพลตฟอร์มก็เริ่มออกแบบใช้งานแล้ว เรามองว่า Uniswap จะยังคงเป็นที่หนึ่งต่อไปเพราะ อุดมการณ์ของ Hayden Adams Founder ที่มีให้ Uniswap ความตอบโจทย์การใช้งานของนักลงทุนที่ไม่ได้ต้องการอะไรที่มากไปกว่าความสะดวกในการใช้งานและอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด
https://blog.uniswap.org/uniswapx-protocol
https://support.uniswap.org/hc/en-us/articles/17515415311501-What-is-UniswapX-